กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-8287-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ 6 บ้านป่าโอน
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุบ้านป่าโอน
พี่เลี้ยงโครงการ คลินิกเวชฯศุนย์3 รพ.เทพา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นประชากรซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ ความชำนาญที่มีคุณค่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม และเป็นสายใยแห่งครอบครัว เชื่อมต่อระหว่างบุคคลในช่วงวัยต่างๆ แต่ขณะเดียวกันมีปัญหาในด้านสุขภาพ อนามัย ปัญหาด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นกว่าวัยอื่นๆ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ถ้าไม่ตระหนักถึงข้อดี ถึงปัญหาของผู้สูงอายุ และให้การดูแลอย่างถูกต้อง ผู้สูงอายุจะกลายเป็นปัฐหาใหญ่หลวงของประเทศชาติได้
ชมรมผู้สูงอายุบ้านป่าโอนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ โดยเน้นเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่า มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง 6 ครั้ง
  2. การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรมสัดส่วนร้อยละ 80
  3. ร้อยละ 100 ของสมาชิกในชมรมได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ปีละ 1 ครั้ง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน
  2. ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี
  3. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียงและผู้สูงอายุด้อยโอกาส
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า และมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 15:43 น.