มะเร็งไม่บานเมื่อหมั่นตรวจแป็บเสมียร์
ชื่อโครงการ | มะเร็งไม่บานเมื่อหมั่นตรวจแป็บเสมียร์ |
รหัสโครงการ | 60-L3016-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 กุมภาพันธ์ 2560 - 18 กุมภาพันธ์ 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอีริณาเบ็ญอาเหม็ด |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางซำซียะห์ อุมาลี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.833,101.232place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 16 ก.พ. 2560 | 23 ก.พ. 2560 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วย
โรคมะเร็งอันดับหนึ่ง ประมาณ ๖๐,๐๐๐ รายต่อปีซึ่งมากกว่าโรคหัวใจ สำหรับตำบลปะกาฮะรังมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวน ๑๕ รายแล้ว เสียชีวิตแล้ว ๑๒ รายแล้ว โรค มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้หญิงอายุ ๓๕- ๖๐ ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูกได้แก่อาการตกเลือดทางช่องคลอดเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ ๘๐ – ๙๐ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติกลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้างหรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาทอาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลังปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือดถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้นโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะ ๐คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูกระยะ ๐ คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง ๑๕ นาที และตรวจติดตามอาการการรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ ๑๐๐% ระยะที่ ๑ เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูกระยะ ๑ คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูกเลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง ๘๐%ระยะที่ ๒ เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ ๒ นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด(คีโม) ได้ผลราว ๖๐%ระยะที่ ๓ เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ ๓ คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ ๒๐-๓๐% ระยะที่ ๔ เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูกระยะที่ ๔ คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง ๕-๑๐% และโอกาสรอดน้อยมาก
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรังเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพแม่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลลูก ดูแลครอบครัวเคียงคู่พ่อบ้านเมื่อขาดแม่บ้านไปจะมีผลกระทบหลายอย่างตามมา เช่น ครอบครัวตกอยู่ในสภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด เด็กขาดความอบอุ่น และปัญหายาเสพติด จึงเป็นภาระของสังคมอีก ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเปลี่ยนมุมมองใหม่ เพื่อให้แม่บ้านเกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑ เพื่อจัดการอบรมให้ความรู้และผลกระทบโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีอายุ
๓๐-๖๐ปี
๒ เพื่อสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
๓ เพื่อรณรงค์ทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการ pap smear ๑ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ๒ร้อยละ ๔๐ ของกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการตรวจแป็บเสมียร์และตรวจเต้านม ตนเองทุกเดือน |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
16 - 18 ก.พ. 60 | จัดอบรมให้ความรู้ | 50 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | |
รวม | 50 | 10,000.00 | 1 | 10,000.00 |
๑ วิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป
๒ เขียนโครงการเพื่อเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
๓ จัดประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
๔ จัดอบรมและจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ
๕ ติดตาม/ประเมินผล พร้อมสรุปโครงการ
๑กลุ่มเป้าหมายหลังรับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ๒อัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในตำบลปะกาฮะรัง ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560 13:19 น.