กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบาเจาะ โมเดล ต้นแบบการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน ต.บาเจาะ
รหัสโครงการ 61- L4127 -5-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบาเจาะโมเดล
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 27 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 86,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสมาแอกามุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววาสนาหะยีเจะนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 16878 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้มาลาเรียยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย มีการระบาดมากในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ ปี พ.ศ.2560 จังหวัดที่พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียสูงสุด 10 อันดับแรก คือยะลาตาก นราธิวาส สงขลา อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ศรีสะเกษปัตตานีและ เชียงราย ตามลำดับ พบผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 16,878 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 89.97 ของผู้ป่วยทั้งประเทศ
จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดชายแดนที่อยู่ทางตอนใต้สุดประเทศไทย ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าเขามีสภาพอากาศค่อนข้างชุ่มชื้นในรอบปีจะมีฝนตกชุกสองช่วง แม้ปัจจุบันสภาพดินฟ้าอากาศมีความแปรปรวนผิดไปจากฤดูกาลเดิมไปบ้าง เช่น มีฝนตกเกือบทุกช่วงเดือนแต่ในปริมาณน้อยสถานการณ์ไข้มาลาเรีย ปีพ.ศ.2560 ตรวจพบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียจำนวน 6,427 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.59 ของผู้ป่วยทั้งประเทศโดยมีชนิดเชื้อมาลาเรียที่พบในจังหวัดยะลามีสองชนิด คือ ฟัลซิปารั่ม และไวแวกซ์จากอุบัติการณ์ปีพ.ศ.2560 พบผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ร้อยละ 89.94 และเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารั่ม ร้อยละ 13.06 ที่เหลือเป็นเชื้อชนิดผสม (Mix) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของการระบาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ผ่านมาของจังหวัดยะลา
ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ประสบปัญหาการระบาดไข้มาลาเรียในชุมชน จากสถิติการระบาดปี พ.ศ. 2559-2560พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดสูงเป็นอันดับต้นของอำเภอบันนังสตาส่งผลกระทบให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก และสร้างความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ การดำรงเลี้ยงชีพ และภาระการดูแลผู้เจ็บป่วยตลอดมา การดำเนินงานการกำจัดไข้มาลาเรียให้ได้ผลและเกิดความยั่งยืนนั้น เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ชุมชนและประชาชนเป็นศูนย์กลางการสร้างความร่วมมือ และขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ให้เกิดเป็นชุมชนพึ่งตนเอง โดยมีภาครัฐส่งเสริม สนับสนุนให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปแบบ อันจะส่งผลให้การกำจัดไข้มาลาเรียลดน้อยลงหรือหมดไปจากพื้นที่ และสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน และแก้ไขปัญหาของโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ภายใต้บริบทของพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านความมั่นคงในปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลบาเจาะ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 30

1.00
2 เพื่อสร้างนวัตกรรม ชุมชนต้นแบบในการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน

อัตราชุมชนต้นแบบในการกำจัดไข้มาลาเรียโดยชุมชน ร้อยละ 30

1.00
3 เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 30

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมแกนำชุมชน โดยภาครัฐท้องถิ่น และประชาชนเพื่อหารูปแบบการดำเนินงาน ๒.จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกิจกรรม บาเจาะโมเดล
๓.อบรม พัฒนาศักยภาพแกนนำในการดำเนินงานค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรีย (การเจาะเลือด และการตรวจวินิจฉัยโรคไข้มาลาเรีย โดย อสม.) ๔.กิจกรรมรณรงค์“การลงแจกเจาะเลือด” ค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรีย โดย อสม.ทุกหมู่บ้าน ๕.การออกหน่วยบริการประชาชนจากทุกภาครัฐและเอกชน ๖.การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ บาเจาะ โมเดล
๗.ประชุม หาข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดำเนินงานทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย 2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาเจาะได้รับการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอย่างคลอบคลุม 3. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้มาลาเรียในชุมชน
4. ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในการดูแล เฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียโดยชุมชนพึ่งตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ