กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารของแม่
รหัสโครงการ 61 – L5262 -03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูลนิธิพระโสภณคุณาธาร (เนียมสุวโจ)
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กรกฎาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกวรรณพร แสงจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.308,100.441place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“ อร่อยจังแม่”คำพูดของเด็กที่เปล่งออกมาจากความประทับใจ "แม่" กับข้าวฝีมือแม่มักไม่ใช่อาหารที่ใช้วัตถุดิบหรูหราหายาก ไม่ใช่อาหารที่ปรุงด้วยเทคนิคพิเศษ แต่กับข้าวฝีมือแม่ใส่ความรัก ความห่วงใย และความเอาใจใส่ กับข้าวแม่เป็นตัวแทนของสายใยแม่-ลูก ที่ถูกปรุงขึ้นเพื่อคนตัวเล็กๆ ไม่กี่คนในบ้านเท่านั้น รสชาติอาหารที่คุ้นลิ้นมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก กินกี่ครั้งๆกี่หนก็ไม่เคยเบื่อ เครื่องปรุงรสที่สำคัญที่สุดคือ “ความรัก” แม่ใช้ความรักความใส่ใจเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารทุกชนิด แม่รู้เสมอว่าลูกคนนี้ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขนาดไหนคงไม่มีเครื่องปรุงรสยี่ห้อใดที่จะให้ความอร่อยเท่ากับเครื่องปรุงรสของแม่ แต่ “ลูก”ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขนาดไหนที่จะให้ความอร่อยกับลูกไม่เพียงพอกับสภาพแวดล้อมทางสังคมในปัจจุบันเมื่อสถานการณ์ของสังคมที่เร่งร้าว บีบรัดเด็กเล็กและลูกต้องอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายาย หรืออยู่กันเองตามลำพังกับพี่หรือน้อง พ่อ และแม่ต้องออกนอกบ้านเพื่อทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัวตั้งแต่เช้ามืด กลับถึงบ้านในตอนเย็นมืดค่ำ เด็กเล็กเลือกบริโภคอาหารตามความชอบ หรือตามกระแสส่งผลให้เด็กอยู่ในภาวะที่เสี่ยงทุพโภชนาการอ้วนมาก หรือผอมเกินที่เป็นภัยเงียบไม่ส่งผลโดนทันทีคือพัฒนาการทางสมองของเด็กด้อยลงตามไปด้วย ช่วงวัย 6 ปีแรกของชีวิตเป็นระยะสำคัญที่จะสามารถ กระตุ้นสมองของเด็กให้เซลล์สมองทำวงจรเชื่อมโยงแผ่ขยายได้มากขึ้น หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ทั้งในด้านความชอบและความถนัดของเด็ก จะทำให้พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาสติปัญญาเด็กในวัยต่างๆ ต่อไปการศึกษาขององค์กรเครือข่ายการวิจัยด้านสมองและระบบประสาท (BRAINnet – Brain Research And Integrative Neuroscience Network) ชี้ว่า การพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย หรือบางด้านอาจต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ( อ้างถึง : การพัฒนาอัจฉริยภาพด้านต่างๆคณะทำงานสุขภาพคนไทยhttp://www.thaihealthreport.com/index2551-007) ภาวะทุพโภชนาการมีระดับความรุนแรงของปัญหาในระดับภาคมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน ภาคอีสานเคยเป็นพื้นที่ ที่เคยมีอัตราความชุกของภาวะทุพโภชนาการสูงที่สุดมาโดยตลอด แต่ในการสำรวจปี พ.ศ. 2549 นี้ ภาคใต้กลายเป็นภาคที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งด้านขาดและเกินที่น่าเป็นห่วง ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่ 5 พ.ศ.2546ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราภาวะทุพโภชนาการได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน แต่เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนสูงขึ้น ก็มักเกิดภาวะโภชนาการเกินในเด็กเพิ่มขึ้นด้วย(อ้างถึง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุไรพร จิตต์แจ้ง : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://www.thaihealthreport.com/index2551-005) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูลนิธิพระโสภณคุณาธาร (เนียมสุวโจ) มีจำนวนเด็กเล็ก 58 คนมาจากครอบครัวที่มีฐานะไม่เท่าเทียมกันของคนในชุมชนชะแล้จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีจำนวนเด็กเล็กมีระดับพัฒนาการทางร่างกายสัมพันธ์กับช่วงอายุของเด็กที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 30 คนระดับพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ตามเกณฑ์ จึงต้องการจัดทำโครงการขึ้นเพื่อเสริมทักษะความเข้าใจแก่แม่หรือผู้ปกครองของเด็กเล็กด้านโภชนาการที่สมวัยแก่เด็กเล็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็กในศูนย์ฯจัดการให้เด็กได้รับกำลังงาน สารอาหารอย่างเพียงพอ

1) ครูพี่เลี้ยง ผู้ปกครองร่วมออกแบบรายการอาหารกลางวันและอาหารเสริมตลอดช่วงระยะการเรียนในภาคการศึกษา 2) จัดรายการอาหารประจำวันตามโปรแกรม School lunch

100.00
2 เพื่อให้เด็กเล็ก มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม

1) เด็กเล็กในศูนย์ฯผ่านการตรวจสอบ ทดสอบ ประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน  ร้อยละ  ๘๐

80.00
3 เพื่อให้เด็กเล็กที่มีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

1) พัฒนาเด็กเล็กที่มีพัฒนาการล่าช้า  กลับอยู่ในภาวะปกติ ร้อยละ ๑๐๐
2) ผู้ปกครองของเด็กเล็กที่มีพัฒนาการล่าช้า  รับรู้ เข้าใจวิธีการกระตุ้นเด็ก ร้อยละ ๑๐๐

100.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

1) ครูพี้เลี้ยง ผู้ปกครองเด็ก มีความเข้าใจระดับความเข้าใจด้านอาหารโภชนาการและพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ของผู้ปกครอง ร้อยละ ๘๐

80.00
5 เพื่อสร้างเสริมความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก

2) ร้อยละ ๙๐ ครูพี้เลี้ยง ผู้ปกครองเด็กมีความพึงพอใจ

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. มีการติดตามชั่งน้ำหนักเด็กทุก ๓ เดือน ๒. ติดตามประเมินพัฒนาการกล้ามเนื้อเด็กเล็กทุก ๑ เดือน ๓. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กจำนวน ๓ ครั้ง ๑. ครั้งที่ ๑ ประชุมชี้แจงผลการติดตามจากการชั่งน้ำหนัก ผลสรุปพัฒนาการด้านร่างกายสัมพันธ์กับช่วงวัยพัฒนาการกล้ามเนื้อ (จากการวัด การประเมินผลจากสมุดประจำตัวเด็ก ) a. วิทยากรบรรยายอาหาร และพัฒนาการที่สำคัญในช่วงวัย b. กิจกรรมสายใยรัก “อาหารของแม่”ผู้ปกครองนำปิ่นโตอาหารโปรดของลูกร่วมรับประทานอาหารกับลูกและผู้ปกครองอื่น c. และกำหนดให้ผู้ปกครองช่วยติดตาม ดำเนินการตามคำแนะนำการฝึกปฏิบัติเมื่อเด็กอยู่บ้าน (ควบคุมอาหารและฝึก ปฏิบัติการพัฒนาการกล้ามเนื้อจากการเล่น ออกกำลังกายปกติของเด็กที่บ้าน) ๒. ครั้งที่ ๒ ประชุมระยะกลางหลังจากดำเนินดำเนินโครงการแจ้งผลการดำเนินงาน (จากการประเมินเด็กรายบุคคล จากสมุดบันทึกส่วนตัวเด็ก )ผู้ปกครองร่วมเสนอแนะแนวทางและแก้ไขปัญหา ๓. ครั้งที่ ๓ สรุปผลการดำเนินโครงการ แสดงผลงาน ๔. มีการติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่ขาดสารอาหารทุก ๑ เดือน ๕. สนับสนุนการจ่ายอาหารเสริมนมผัก ผลไม้แก่เด็กที่มีปัญหา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครองเด็กเล็กมีระดับความเข้าใจด้านอาหารโภชนาการและพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ร้อยละ ๘๐
๒. เด็กเล็กในศูนย์ฯมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ร้อยละ๘๐ ๓. เด็กเล็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข ร้อยละ๑๐๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 15:24 น.