กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดพฤติกรรมเสี่ยงเลี่ยงโรคเบาหวานเเละความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L7573-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์เเพทย์ชุมชน โรงพยาบาลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอักษรตรี พงศ์นุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางขนิษฐา พุกบุญมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถาณการณ์ของโรคที่มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะส่งผลความเสียหายที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจในภาครวม จากการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตำบลควนขนุน ย้อนหลัง๕ปี ปีงบประมาณ๒๕๕๕-๒๕๕๙ พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๔๕๘,๕๑๓,๕๔๑,๗๕๔,๘๒๙ ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงความดัน ๑,๐๑๒, ๑,๐๕๗, ๑,๐๕๗, ๑,๐๘๓, ๑,๑๓๕ ราย ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่าแนวโน้มกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี วิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพชุมชนที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพที่ลดลง ศูนย์แพทย์ชุมชนได้เล็งเห็นปัญหาและได้จัดทำโครงการ "ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง" โดยการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง โดยการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต และมีสุขพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ คาดว่าเมื่อเมื่อดำเนินงานตามโครงการไปแล้วประชาชนกลุ่มที่เสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐาน ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งมีการปรันพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่พึงประสงค์อย่างถาวร อันส่งผลให้มีการเข้าถึงสุขภาวะที่แท้จริงของประชาชน มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นหลัก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการเรียนรู้และมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓ อ. คือ อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ๒.เพื่อให้ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน ในกลุ่มเสี่ยง โดยลดระดับน้ำตาลและระดับความดันอยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติที่สุด

๑.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการเรียนและมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓ อ. ๒.สามารถชะลอการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน โดยลดน้ำตาลและระดับความดันอยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงที่สุด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการเรียนรู้และมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓ อ. คือ อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ๒.เพื่อให้ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน ในกลุ่มเสี่ยง โดยลดระดับน้ำตาลและระดับความดันอยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติที่สุด

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ ๑ เดือน มีนาคม ๒๕๖๐ ๑.จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ๒.ชี้เเจงสถานการณ์/คืนข้อมูลโรคเรื้อรัง ข้อมูลการคัดกรอง ให้กับชุมชนในวันประชุมหมู่บ้าน ๓.ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิต) ๔.ประเมินความรู้ การปฏิบัติตัว ๕.ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการตามฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ. (การออกกำลังกาย การบริโภค การจัดการอารมณ์) ๖.ให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน แผ่นพับ สมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ๗.ตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๘.สร้างข้อตกลงการนัดและกิจกรรมในครั้งต่อไป กิจกรรมที่ ๒ เดือน มีนาคม ๒๕๖๐ ๑.ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตสูง) ๒.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลจิตใจ ๓.สรุปรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมที่ ๓ ๑.ตรวจร่างกาย (ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด) ๒.สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ ๖๐ ๒.อัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ ๕

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2560 11:21 น.