กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 61-L3330-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 สิงหาคม 2561 - 6 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 6 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.39,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเด็ก ๐-๔๒ ปี ในพื้นที่ ที่มีภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม, ผอม และมีพัฒนาการล่าช้า ในพื้นที่ เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 6๐
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็ก เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยก่อนเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กในวัยก่อนเรียน (0 - 5 ปี) มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80 จากข้อมูลงานการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านลอน ประจำงวดที่ 2 ปีงบประมาณ 2561 เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 173 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 89.59 พบว่า เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุคิดเป็นร้อยละ 61.93 เด็กมีน้ำหนักค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 10.97 เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 2.58 เด็กน้ำหนักค่อนข้างมากคิดเป็นร้อยละ 1.93 และเด็กที่น้ำหนักมากเกินเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 3.23  ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการขาดความรู้ความตระหนักถึงการให้อาหารเสริมตามวัยและขาดการสังเกตพัฒนาการของลูก จึงทำให้พบปัญหาเด็กขาดสารอาหารและพัฒนาการไม่สมวัย       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอนได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้วประจำปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของเด็ก 0 – 5 ปี โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและตรวจพัฒนาการเชิงรุกในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้ตามเกณฑ์

๑.อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 95     

95.00
2 ข้อที่ ๒. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้เรื่องโภชนาการและทักษะในการเฝ้าระวังพัฒนาการตามวัย

๒.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง 3.อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะในการประเมินพัฒนาการและติดตามเด็กในชุมชนที่มีพัฒนาการล่าช้า

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจ กลุ่มเป้าหมายอายุ 0 – 5 ปี
    1. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม   3. นัดกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมอบรม โดยมีเนื้อหาดังนี้
    • พัฒนาการและความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงวัยพร้อมสาธิตการให้อาหารเด็ก ตามช่วงวัย
    • ความรู้เกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย
    • วิธีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เด็กอายุ 0-5 ปี พร้อมแปรผล
    1. อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-5 ปี ทุกคนในเขตรับผิดชอบ พร้อมแปรผล และบันทึกผลการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการ พร้อมติดตามพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย   5.ประเมินผลการดำเนินงานโดย
    • อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 6.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 95
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง       3. อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะในการประเมินพัฒนาการและติดตามเด็กในชุมชนที่มีพัฒนาการล่าช้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561 10:55 น.