กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการทำงานและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่ 13 ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการทำงานและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่ 13 ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3330-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2561 - 10 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 29,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.39,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 และสรุปผลการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบและเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่ามีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 47.33 (ผู้เข้ารับการประเมินความเสี่ยงจำนวน 300 คน)
47.33

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคจากการประกอบอาชีพหรือโรคเหตุจากอาชีพ คือโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ทำงานโดยมีสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยที่อาการของการเจ็บป่วยนั้นๆอาจเกิดขึ้นกับผู้ทำงานในขณะทำงานหรืออาจเกิดหลังทำงานเป็นเวลานาน เช่นโรคตะกั่ว โรคซิลิโคสิส โรคแพ้พิษจากสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น และโรคที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ คือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ทำงาน สาเหตุการเกิดโรคไม่ได้เกิดโดยตรงจากการทำงาน แต่การทำงานทำให้เป็นโรคมากขึ้น มีสาเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และสาเหตุจากงานเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค หรืออาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ปวดหลัง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหอบหืด โรคที่เกิดจากความเครียดจากการทำงาน โรคระบบกล้ามเนื้อเป็นต้น และแรงงานนอกระบบหมายถึงการทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้าง การจ้างงานที่เป็นทางการหรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอนหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว เช่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน มีเขตรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4บ้านต้นสน หมู่ที่8 บ้าน  ทุ่งโต๊ะหย๊ะ และหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการทำเกษตรมากกว่าร้อยละ๘๐ ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้และเพาะปลูก ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและมีการรวมกลุ่มแรงงาน ของคนในชุมชน จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร/รับซื้อผลผลิตยางพาราในชุมชนเอง จากการจัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ปี 2560 พบว่า เกษตรกร  ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.67 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 44 – 56 ปี ร้อยละ 36.33 งานอาชีพหลักส่วนใหญ่คือเพาะปลูก(ทำเอง) ร้อยละ 79.67 เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่นหรือสัมผัสที่ฉีดพ่น ร้อยละ 51.33 และสรุปผลการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบและเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่ามีระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 47.33 (ผู้เข้ารับการประเมินความเสี่ยงจำนวน 300 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพกลุ่มแรงงานนอกระบบในชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการทำงานและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชขึ้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้แรงงานนอกระบบมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

แรงงานนอกระบบได้ความรู้ เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

20.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการทำงานในสถานประกอบการ

แรงงานนอกระบบได้รับการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานและสามารถป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ และได้รับการตรวจสุขภาพ

20.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต

150.00
4 ข้อ4 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมทั้งส่งเสริมการกินสมุนไพรล้างพิษ

150.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,400.00 0 0.00
25 ก.ค. 61 จัดประชุมให้ความรู้แก่แรงงานนอกระบบในขุมชน 0 4,200.00 -
25 ก.ค. 61 - 10 ส.ค. 61 ตรวจสุขภาพแก่แรงงานนอกระบบในขุมชน 0 6,200.00 -
8 - 10 ส.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้และเจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง โดยแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 3 รุ่น 0 19,000.00 -

๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติและการดำเนินงานตามโครงการ ๒. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ /เกษตรกรทราบ
๓. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์       โคลีนเอสเตอเรส
๔. จัดประชุมให้ความรู้แก่แรงงานนอกระบบในชุมชน
5. ดำเนินการตรวจสุขภาพ แก่แรงงานนอกระบบ
    6. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างใน กลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย 7. ดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูก /บริโภคผักปลอดสารพิษพร้อมส่งเสริมการกินสมุนไพรล้างพิษ 8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 9. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แรงงานนอกระบบมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  2. แรงงานนอกระบบได้รับการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานและสามารถป้องกันความเสี่ยงการเกิด   โรคจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบการได้
  3. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ ๔ บ้านต้นสน         หมู่ที่ ๘ บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และหมู่ที่ ๑๓ บ้านทุ่งนายพัน
  4. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมทั้งส่งเสริมการกิน สมุนไพรล้างพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561 11:46 น.