กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนทางกายพาเพลินเด็กไทยสุขภาพดีสูงดี สมส่วน
รหัสโครงการ 01042561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.หินซ้อน
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 1 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 18,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอานนท์ ภาคมาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิสุทธิ์ สุกรินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 14.753,101.033place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 18,500.00
รวมงบประมาณ 18,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสภาพปัจจุบัน ผู้ปกครอง ตลอดจน เด็ก ๆ ขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง และไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ดูแล ร่างกาย ตลอดจนมีนิสัยการอุปโภค บริโภค จึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคไขมันอุดตัน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายได้ตลอดเวลา จากการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอในวัยมีผลต่อพัฒนาสมอง การฝึกการคิดวิเคราะห์ การวางแผน และสมาธิของเยาวชน ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจและ หลอดเลือด และมะเร็งและโรคอ้วนในวัยเด็กเยาวชน ซึ่งผลการสำรวจของโรงเรียน (ปี ๒๕๖๐) พบว่า ๑) มี นักเรียนร้อยละ ๕๐ มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ๒) นักเรียนร้อยละ ๓๐ อยู่ในกลุ่มน้ำหนักเกิน และกลุ่มอ้วน ๓) นักเรียนและบุคลากรร้อยละ ๘๐ มาโรงเรียนโดยรถมอเตอร์ไซค์/รถยนต์ ๔) ร้อยละ ๘๐ ของวิชาเรียนมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย โดยเด็กไม่ได้มีการเคลื่อนไหวในคาบเรียน ๕) ร้อยละ ๒๐ ของจำนวนครอบครัว ทั้งหมดในชุมชนมีคนเป็นเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง การที่มีกิจกรรมทางกายเยาวชนอายุตั้งแต่ ๕-๑๗ ปีควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อยวันละ ๖๐ นาที โดยต้องออกติดต่อกันครั้งละ ๑๐ นาที ขึ้นไป ให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ วันและจำกัดการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่เกิน ๒ ชั่วโมงต่อวันด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก ๑ ชั่วโมง และการจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน
ดังนั้น โรงเรียนบ้านหินซ้อนจึงดำเนินการโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นโดยดำเนินกิจกรรมสร้าง แกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพครูในเรื่องกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย เมื่อเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ และโรคอ้วนที่เกิดในเด็กส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น มีสมาธิในการเรียน ช่วยพัฒนาภาวะทางอารมณ์ สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคมสร้าง ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของกิจกรรมในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

126.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

80.00 126.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,800.00 1 18,500.00
2 ก.ค. 61 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทำแผนเพิ่มเวลาทำกิจกรรมทางกายให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านหินซ้อน 0 15,800.00 18,500.00

2.1 ขั้นเตรียมการ 2.2 ขั้นดำเนินงาน 2.3 ขั้นติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตที่สมวัย

๒. ได้แกนนำนักเรียน/ นักเรียนต้นแบบในการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
๓. ได้คณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน แกนนำครู แกนนำ นักเรียนผู้ปกครอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561 17:18 น.