กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสตรี
รหัสโครงการ 61-L8406-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (human Papilloma virus หรือ HPV) โดยกระบวนการเกิดมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาเฉลี่ย ๕ – ๑๕ ปี พบว่าสตรีที่ติดเชื้อไวรัสกลุ่ม ความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึง ๔๐๐ เท่า เมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่พบการติดเชื้อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าวอาจจะหายเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในกรณีที่การติดเชื้อ ยังคงอยู่ หรือฝังแน่นที่ปากมดลูกก็จะมีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคนี้มีระยะก่อน มะเร็งให้ตรวจพบได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะทำให้พบระยะก่อนมะเร็ง และมะเร็งระยะเริ่มแรก ช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้  ถึงแม้ว่ามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเต้านมทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง ร้อยละ 80 ของสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้น แป๊ปสเมียร์ (Pap smear) และการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆ ช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จากข้อมูลสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ปี 2560 พบ ผู้ป่วยรายใหม่มะเร็งเต้านม จากการตรวจคัดกรอง ในกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ 35-60 ปี จำนวน 1,๗๕๐ คน พบจำนวน 3 คน และเสียชีวิต จำนวน 1 คน และความผิดปกติอื่นๆ จำนวน 5 คน และผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเซลล์บริเวณปากมดลูก ที่ต้องได้รบการตรวจพิเศษ จำนวน 1 ราย และความผิดปกติอื่นๆ จำนวน 10 ราย ซึ่งผู้ป่วยและผู้ที่พบความผิดปกติต่างๆ ได้รับการรักษาและการติดตามอย่างต่อเนื่อง ทางผู้รับผิดชอบโครงการ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมการดำเนินงาน และประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถเฝ้าระวังตนเองให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ ด้วยการเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการตรวจเบื้องต้นได้จากเจ้าหน้าที่ หรือแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข อันจะเป็นการสร้างสุขนิสัยในการตรวจสุขภาพของประชาชนให้มีความสนใจ และตระหนักในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ก่อนและหลังการอบรมและสามารถตรวจเต้านมได้ถูกต้อง  ร้อยละ 90 

0.00
2 2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

ในรายผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00
3 3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายสตรีอาสาต้านภัยมะเร็งในชุมชน

มีเครือข่าย  จำนวน 1 เครือข่าย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 61 1. เสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพ กลุ่มเป้าหมาย 0 10,000.00 -
1 - 31 ก.ค. 61 2. การดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 0 0.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 2. จัดทำสื่อ เอกสาร จัดเตรียมวัสดุทางการแพทย์ เพื่อการประชาสัมพันธ์และการดำเนินงาน ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อชุมชนและหน่วยบริการ ๔. จัดทำทะเบียนกลุ่มสตรีเป้าหมาย     ขั้นดำเนินการ ๑. ผลิตสื่อที่เกี่ยวข้อง ในการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านอสม. แกนนำ  หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน
๓. เสริมสร้างองค์ความรู้ และทักษะ สตรีแกนนำในชุมชน
๔. จัดทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายให้แกนนำ แต่ละหมู่/ชุมชน เพื่อแจ้งให้แต่ละคนติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบมารับบริการตรวจคัดกรอง และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไปรับบริการที่สถานบริการอื่นๆ เพื่อการเก็บความครอบคลุมการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในรอบปี (นับผลงานเฉพาะรายใหม่) ๕. เสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพ ความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจอย่างละเอียด พร้อมทั้งให้บริการในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
๖. การดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๖.๑ จัดเตรียมบุคลากรในสถานบริการเพื่อช่วยในการให้บริการ ๖.๒ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้บริการการตรวจอย่างเพียงพอ ๖.๓ จัดคลินิกให้บริการ การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear
๖.๔ ในรายพบความผิดปกติ จัดทำใบส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย
๗. ประเมินคุณภาพการให้บริการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ           หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 25 และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับผู้ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องร้อยละ 100 และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2561 10:30 น.