กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะ ปรับสภาพแวดล้อมชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L3313-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลจองถนน
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,518.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทนา หนูนุ่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันตำบลจองถนน มีปริมาณขยะถึง 600 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน และการท่องเที่ยว หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คน จะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 0.16 กิโลกรมต่อวัน จึงเป็นภาระของเทศบาลตำบลจองถนนในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรก ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์ และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ฝุ่นละออก เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าซ มีเทนจากการฝังกลบ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ในปี 2558 - 2560 ที่ผ่านมาเทศบาลตำบลจองถนน ร่วมกับ หมู่ที่ 2, หมู่ที 4, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 ร่วมกัน ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้มชุมชน และไม่มีที่กำจัดขยะ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนจัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสำนักต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเองจนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลยได้ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นตามมา หรือ เรียกว่าภาวะโลกร้อน (Globel Warmming) ดังนั้น เทศบาลตำบลจองถนนเล่งเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง คือครัวเรือนโดยการคัดแยกขยะริไซเคิล ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ขยะพิษหรือขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติได้เป็นอย่างดี และขับเคลื่อนวาระ "จองถนนสะอาด" สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดการขยะปรับสภาพแวดล้อมชุมชนป้องกันไข้เลือดออกขึ่้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะในชุมชน 3. เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. ประชาชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ
  2. ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญถึงภัยของโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละ 80
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  2. ประชุมวางแผน เพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน แก่แกนนำและผู้นำชุมชนและคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
  4. จัดหาสื่อ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
  5. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการขยะและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในแต่ละหมู่บ้าน
  6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการในหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านเรือนให้เหมาะสม
  7. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยใช้หลักสูตรการคัดแยกขยะในครัวเรือนตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
  8. จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดขยะมูลฝอย และการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย
  9. ติดตาม และให้การสนับสนุนกิจกรรมการคัดแยกขยะ และการลดขยะในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  10. ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะ เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพิึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง 2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2561 13:06 น.