กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรี อายุ ๓๐-๖๐ ปี
รหัสโครงการ 60-L3339-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 668 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ ๑๑ ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง ๗ ล้านคน โรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความารู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอันตรายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีปี พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๕๘ จำนวน ๘๘๕ ราย พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์ จำนวน๒ ราย สำหรับมะเร็งปากมดลูกพบความผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง จำนวน ๔๑๒ ราย และมีผู้เสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๑ ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรคโดยเฉพาะกาารตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์มะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกขึ้นโดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อรณรงค์ให้ความรู้มะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเป้าหมาย

๑.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีจำนวน ๕๘๑ คน ตรวจมะเร็งเต้าานมด้วยตนเองและผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมจากบุคลากรสาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จำนวน ๔๖๕ ราย

2 ๒.เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

๒.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีจำนวน ๔๘๐ คนได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ คน จำนวน ๓๘๕ ราย

3 ๓.เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก/เต้านมในระยะเริ่มแรกได้มากขึ้นและผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง ทันท่วงที

๓.สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีที่เคยเข้ารับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา ๒.จัดทำทะเบียนสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน ๕ ปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๒,๓ และหมู่ที่ ๑๑ ตำบลหารเทา ๓.ฝึกอบรม อสม. เรื่องความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งเต้านม ๔.ให้ความรู้แก่สตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปีเรื่องการป้องกันควบคุมมะเร็งปากมดลูก ๕.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน ๕ ปีที่ผ่านมารับฟังความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม ๖.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีที่เข้าร่วมโครงการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากหน่วยบริการในพื้นที่ (รพ.สต.)หรือหน่วยงานบริการประจำ(รพช.รพท.)ที่กำหนด ๗.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีที่เข้าร่วมโครงการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจากหน่วยบริการ ๘.หน่วยบริการประสานและส่งต่อสตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อเพื่อจักการอย่างเหมาะสม ๙.ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการโดยสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือตอบแบบสอบถาม ๑๐.สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองและผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมจากบุคลากรสาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จำนวน ๔๖๔ ราย ๒.สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหา cell ผิดปกติของปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จำนวน ๓๘๕ ราย ๓.สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2560 09:47 น.