กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีวิถีไทย
รหัสโครงการ 61-L1523-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 15,289.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดา สินฝาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 15,289.00
รวมงบประมาณ 15,289.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตดีเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัยดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน จากข้อมูลประชากรศึกษาพบว่าจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้อัตราตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลอาจเป็นทุพพลภาพเป็นคนไข้ติดบ้านติดเตียงปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุขจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงสมบูรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุเพื่อควบคุมโรคไม่ให้กำเริบรุนแรงทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่าสมารถทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคมเป็นเสาหลักของลูกหลานและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตซึ่งจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ ๓,๔,๕และ ๖ตำบลนาเมืองเพชรปี ๒๕๕8 –๒๕60 พบว่า
      ปี ๒๕๕๘ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓๔๐คน อัตราการเพิ่มร้อยละ ๑๓.๓๒       ปี ๒๕๕๙ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓๕๔คน อัตราการเพิ่มร้อยละ ๑๓.๘๗   ปี ๒๕60 มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓60คน อัตราการเพิ่มร้อยละ ๑๓.99     นับว่าเป็นชุมชนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชรเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้พฤติกรรมสุขภาพและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (๑)เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของอสม./แกนนำ/ผู้สูงอายุ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ (๒) เพื่อสร้างเครือข่ายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านสุขภาพ

(๑)ร้อยละ ๙5ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองข้อมูลและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) (๒)ร้อยละ ๓๐ ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๑(ติดสังคม) มีสุขภาพที่พึงประสงค์

360.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,289.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 1. ประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 360คน 0 1,396.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๒.อบรมอสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุตามนโยบาย “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” จำนวน 85 คน 1 วัน 0 12,893.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 3.อบรมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านสุขภาพของอสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 40 คน 0 1,000.00 -

1.จัดทำโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่อสม./แกนนำ   2.สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน 3.จัดเตรียมสถานที่ฝีกอบรม และประสานงานวิทยากร ๔.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเครือข่ายอสม. ประเมินคัดกรองผู้สูงอายุความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา ๕.กิจกรรมอบรมอสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามนโยบาย “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ๖.ทีมหมอครอบครัวร่วมกับอสม.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อประเมินสุขภาพและติดตามผลตามความจำเป็นของแต่ละคน 7.อบรมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สุขภาพของอสม./แกนนำผู้ดูแล
    ผู้สูงอายุ หลังการอบรมพัฒนาศักยภาพ 1 เดือน ๘.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุมีความรู้ สามารถใช้ศักยภาพดูแลผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2561 14:51 น.