กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถึชุมชน ร่วมเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4147-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิเด๊าะ อิแตแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
15.35
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
38.18

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมายจาก หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาจเกิดการเสียหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะที่ ตา ไต ประสาท หัวใจ และหลอดเลือด ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว และของรัฐเป็นอย่างมาก การให้ความรู้และสนับสนุนให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถจัดการเบาหวานด้วยตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดูแลรักษา และควบคุมเบาหวานที่ยั่งยืน
    ผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงปกติอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยความดันที่ควบคุมความดันโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากความเสื่อมหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังกล่าวได้ ทีมผู้ดูแลรักษาผู้เป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้ข้อมูลหรือความรู้ หากความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไตวาย และโรคอัมพาต ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ การตรวจวัดความดันสม่ำเสมอจะช่วยวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก และการควบคุมความดันโลหิตให้ได้ถึงเกณฑ์ปกติตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย จะช่วยให้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ข้างต้นเพื่อให้ผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถจัดการควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูงด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการผลักดันการทำงานเชิงรุกในการป้องกัน ปรับเปลี่ยน หรือควบคุมโรค (Prevention program) เพราะโรคเรื้อรังก็ถือว่าเป็นโรคระบาดแต่ระบาดภายใต้เงื่อนไขหรือสภาวะทางสังคม เพราะไม่ใช่เชื้อโรค เราล้มเหลวในการควบคุมมัน จึงกลายเป็นภาระที่พวกเราต้องแบกรับอยู่ในทุกวันนี้ ไม่มีพื้นที่ไหนในประเทศไทยที่ไม่มีผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ข้อความดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นชัดถึงความล้มเหลวของการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค โรคเรื้อรังระบาดภายใต้เงื่อนไขและสภาวะทางสังคม เกี่ยวเนื่องกับความเป็นสังคม และโรคเรื้อรังดังกล่าวส่งผลเสียทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจ     จากผลงาน การตรวจคัดกรองสุขภาพของตำบลบาโงยซิแน ระหว่าง 01/10/2559ถึง 30/09/2560 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 94.66 พบกลุ่มปกติที่มีภาวะน้ำตาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมมีสุขภาพในทางที่ดีขึ้นลดภาวะแทรกซ้อนลดโอกาสการเกิดโรค และระดับความรุนแรงของโรคเบาหวาน

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้เพิ่มขึ้น หรือ > 40%

40.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมมีสุขภาพในทางที่ดีขึ้นลดภาวะแทรกซ้อนลดโอกาสการเกิดโรค และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมได้ได้เพิ่มขึ้น หรือ > 50%

50.00
3 3. เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเป็นบุคคลตัวอย่างด้านสุขภาพ

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเป็นบุคคลตัวอย่างด้านสุขภาพ

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,006.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 61 ตรวจสุขภาพเจาะเส้นเลือดดำประจำปี 0 6.00 -
1 - 31 ก.ค. 61 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจง รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ 0 9,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนัก 0 12,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 3,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 61 เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเท้าในกลุ่มป่วยเบาหวาน 0 6,000.00 -
  1. จัดประชุมคณะทำงาน โครงการ เพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล

  2. ติดต่อประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความรวมมือในการดําเนินงาน

  3. จัดเตรียมเอกสาร และเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ ร่วมกับคณะทำงาน

  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการเลือกรับประทานอาหาร และออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค ลดความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนของโรค ร่วมกับการประเมินรายบุคคลเพื่อให้สามารถคงระดับความดัน และน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ระยะเวลาจำนวน 1 วัน ดังนี้

    4.1 จัดทำเนื้อหาหลักสูตร เน้น ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสม ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย และ การฝึกปฏิบัติ การสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การฝึกจิตคลายเครียด

    4.2 ประสานวิทยากร และหากลุ่มเป้าหมายในการอบรม จำนวน 50 คน

    4.3 จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่

    4.4 ให้การฝึกปฏิบัติ/ความรู้ การสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการฝึกจิตคลายเครียด

    4.5 สรุปผลการอบรม

5.  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อให้เกิดความตระหนัก ของปัญหาของสุขภาพที่เป็นภัยเงียบต่อร่างกายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

6.  สร้างกระแสสุขภาพล้อมเมืองเน้นประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างที่หลากหลาย และนำศาสนาเข้ามามีส่วนในการดูแลสุขภาพ

7.  การคืนข้อมูลสถานะสุขภาพของชุมชนให้ชุมชนรับทราบ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยพื้นฐานการดำรงชีวิต ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สนใจ รวมถึงจัดประชาคมเพื่อการจัดการภาวะเสี่ยงของพฤติกรรมสุขภาพให้สู่ภาวะที่ดีอย่างยังยืน

8.  กําหนดบทบาท และหน้าที่ของแตละบุคคล

    8.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงให้ความรู้ในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

    8.2 คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีบทบาทในการออกเยี่ยมบ้านพร้อมทีมสุขภาพตำบลและให้กำลังใจ

    8.3 พยาบาลวิชาชีพ มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเสริมแรงจูงใจ

    8.4 เจ้าพนักงานเภสัช มีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องยาในกลุ่มผู้ป่วย

    8.5 นักวิชาการสาธารณสุข มีบทบาทในการรวบรวมข้อมูล ปัญหาอุปสรรค เพื่อรายงานให้กับหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนรับทราบ พร้อมทั้งวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข

    8.6 อาสาสมัครสาธารณสุข มีบทบาทในการออกเยี่ยมบ้านและตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ให้ความรู้ และชักจูงกลุ่มเป้าหมายร่วมกับทีมสุขภาพ

9.  ให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเลือกรับประทานอาหาร และออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค ลดความรุนแรงของโรค หรือภาวะแทรกซ้อนของโรค

10.  จัดหาบ้านสุขภาพ ผักสวนครัว รั้วกินได้ ในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง และประชาชนที่สนใจเข้าร่วม

11.  ติดตามตรวจสุขภาพเจาะเลือดเส้นเลือดดำประจำปี และประเมินสภาวะร่างกาย ในกลุ่มป่วย

12.  เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเท้าในกลุ่มป่วยเบาหวานโดยการนำสมุนไพรพื้นบ้านที่ถูกตามหลักแพทย์แผนไทย มาใช้ดูแลเท้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน(แช่เท้าในน้ำสมุนไพร) การนวดกดจุดบริเวณเท้า และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้า

13.  ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความรุนแรงของโรค และประชาชนกลุ่มเสี่ยงลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ประชาชนกลุ่มป่วยใช้พื้นฐานชีวิตในการดูแลอาการของโรค ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกกลุ่ม
  3. ชุมชนโดยแกนนำสุขภาพมีส่วนร่วม เห็นความสำคัญ และสามารถเป็นบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพของชุมชน เพื่อการดูแลระยะยาว
  4. ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ลดลง หรือไม่เกิดเพิ่มขึ้น
  5. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติของโรค
  6. เสริมพลัง และการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2561 13:55 น.