กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน หมู่ที่ 3 บ้านนา ตำบลบ้านนา
รหัสโครงการ 61-L3363-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านนา
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจำรูญ บุญญาพิทักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านนา
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 49 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย ภาวะโภชนาการของเด็กเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ดีของภาวะสุขภาพโดยรวมของเด็ก และภาวะโภชนาการที่ดีเป็นต้นทุนสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพ ประเทศไทยได้รับการยกย่องในเวทีโลกให้เป็นตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ในการขจัดปัญหาขาดสารอาหาร ด้วยการใช้นโยบายแก้ไขความยากจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ที่ใช้กลยุทธ์พัฒนาชนบทแบบบูรณาการที่รวมการแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารและน้ำ การอนามัยป้องกันโรคติดต่อและการสาธารณสุขมูลฐานไว้ด้วย หลังจากที่ภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ประเทศไทยกลับประสบปัญหาใหม่ เด็กไทยมีภาวะโภชนาการเกินและเป็นโรคอ้วนรุนแรงถึงขั้นที่ปัญหาโรคเสื่อมเรื้อรังอันเป็นผลพวงของโรคอ้วนจะบั่นทอนคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติในอนาคตได้ ในปี พ.ศ.2560 พื้นที่ของหมู่ที่ 1 บ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง มีจำนวนเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ปี จำนวน 49 คน มีภาวะโภชนาการ(น้ำหนัก/ส่วนสูง) สมส่วน 36 คน ร้อยละ 76.60 อ้วนและเริ่มอ้วน 2 คน ร้อยละ 4.25 ท้วม 4 คน ร้อยละ 8.5 ผอมและค่อนข้างผอม 5 คน ร้อยละ 10.63 ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านนา จึงดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 49 คน

 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน(อ้วน) และทุพโภชนาการ(ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไข

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14.00 0 0.00
1 มิ.ย. 61 - 30 ส.ค. 61 อบรมประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนหมู่ที่ 3 บ้านนา 0 14.00 -
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุดขอสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อจัดหาทดแทน
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก ทุก 3 เดือน
  3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุนบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
  4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
  5. เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
    • ความสำคัญของอหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม
    • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
    • ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลังกาย
    • วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
    • การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
  6. อสม./ครูผู้ดูแล ร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ไขปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
    • ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
    • กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมใ้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่าง น้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
    • พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมาขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
  7. จัดหานม และไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่ค่อนข้างผอมและผอม สนับสนุนให้เด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน
  8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
  9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติและดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2561 14:23 น.