กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4147-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 28 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิเด๊าะ อิแตแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูและก่อนคลอดก่อน 12 สัปดาห์
62.24
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูและก่อนคลอดครบ 5 ครั้ง
44.33
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์
23.47

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้นั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง งานอนามัยแม่และเด็กเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพดีได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ด้วยการสนับสนุนบริการดูแลก่อนคลอด การทำคลอด การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด

    จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2560 พบว่าหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 62.24 (เป้าหมาย ร้อยละ 60) ดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 44.33 (ร้อยละ60) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10 ได้ร้อยละ 23.47 การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด พบว่าร้อยละ 87.36 (เป้าหมาย ร้อยละ 65) อัตราทารกตายปริกำเนิด ไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดมีชีพ จำนวนทารกเกิดมีชีพ มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.06 (ไม่เกินร้อยละ 7) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ 23.47 ซึ่งหลายตัวชี้วัดยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่อง การบริโภคอาหารในหญิงมีครรภ์ การทานยาบำรุงเลือดที่ไม่ต่อเนื่อง มารดาขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและการดูแลบุตร ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร

    ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะต้องเน้นถึง การส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็ก ในทุกๆด้านโดยเฉพาะการเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่ หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงมีครรภ์ และหญิงดูแลบุตร เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

    ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก ปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงมีครรภ์ ไม่มีภาวะซีด มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง

หญิงมีครรภ์มีภาวะซีด HCT ต่ำกว่า 33 ไม่เกินร้อยละ 10

10.00
2 2. เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบ5 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ60

60.00
3 3. เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65

65.00
4 4. เพื่อให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

7.00
5 5. เพื่อให้หญิงมีครรภ์ ได้รับการตรวจครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์

อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 65

65.00
6 6. เพื่อให้อัตราทารกตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด

อัตราทารกตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด

9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 60,000.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 61 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เสวนากลุ่ม 0 17,600.00 -
1 - 31 ก.ค. 61 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 23,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวัง และติดตามหญิงมีครรภ์และหลังคลอด 0 19,400.00 -
  1. การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ในงานอนามัยแม่และเด็กโดยการจัดทำ แผ่นพับให้ความรู้ และสื่อต่างๆ

    2. จัดนิทรรศการ ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ การมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ภาวะซีดในระหว่างการตั้งครรภ์ การมาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ การรับประทานยาบำรุงเลือด การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ อาหารที่ควรรับประทานขณะตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวหลังคลอดบุตร

    3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เสวนากลุ่ม เพื่อถอดบทเรียน และนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป

    4. การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

      - เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม

      - แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

      - การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้

            -กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุเหล็ก ไอโอดีนและโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล

            -กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล

            -กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อมบันทึกผล  ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม

            -กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงมีครรภ์ และมารดาหลังคลอด มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ ด้านส่งเสริมสุขภาพ

  2. สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอด และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 14:44 น.