กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันวัณโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ ปารามะ ประธานอสม.ต.เปาะเส้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยปัจจุบันนี้สถานการณ์ของโรควัณโรคค่อนข้างทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเนื่องมาจากอัตราป่วยของผู้ติดเชื้อ HIV ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวัณโรคจัดเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV ป่วยได้เร็วที่สุด และยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งทั้งในด้านการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน และอันตรายต่อสุขภาพของผู้ติดเชื้อ HIV เอง ทำให้อัตราการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อวัณโรคและป่วยเป็นวัณโรค เพิ่มขึ้นทุกๆปี ถึงแม้ว่าผู้ป่วยAIDS รายนั่นจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอยู่ก็ตามก็ยังมิสามารถป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้เลย นอกจากนี้แล้วสำหรับผู้ที่เคยป่วยเป็นวัณโรคมาก่อน เมื่อยังมีภาวะเสี่ยงที่ต้องสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรคอยู่บ่อยๆโอกาสที่จะกลับเป็นวัณโรคได้อีกสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ติดเชื้อ HIV ก็ตาม ดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากจะทำให้เราได้ค้นพบผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่ทราบว่าตัวเอง ติดเชื้อวัณโรคอยู่แล้วและพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตลอดเวลา ซึ่งเข้าได้กับการศึกษาที่พบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคและไมได้รับการรักษา จะแพร่กระจายเชื้อให้ผู้ได้ ประมาณ 15-20 คน ต่อปี ซึ่งหมายความถึงหากชุมชนใดมีผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ร่วมชุมชนหลายคน โดยที่ยังมิได้รับการรักษาก็จะทำให้ชุมชนนั่นมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรควัณโรคมากขึ้น สถานการณ์โรควัณโรคในจังหวัดยะลา น่าเป็นห่วงพบผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน และปัจจุบันสถานการณ์โรควัณโรคในจังหวัดยะลา ยังน่าเป็นห่วงโดยพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวในจังหวัดยะลาจำนวน 805 คน ส่วนใหญ่พบในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน(ฐานข้อมูลจังหวัดชายแดนภาคใต้) สำหรับตำบลเปาะเส้ง ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา ยังพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 3 รายและกำลังรักษา 2 ราย การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนจึงเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้เป็นอย่างดีและยังทำให้ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาด้วยยาวัณโรคอย่างถูกต้องและถูกวิธีตลอดการรักษาจนหายและใช้ชีวิตร่วมกับอื่นในชุมชนได้อย่างเป็นปกติสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค ปี 2561 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา 1.2ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ 1.3เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.2จัดเตรียมสถานที่ดำเนินโครงการ 2.3อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. 2.4อบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถป้องกันการติดต่อของโรควัณโรคได้ 2.การค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.ลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยสัมผัสร่วมบ้าน 4.ลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 14:47 น.