กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาไทย ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4147-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาเครือข่ายสตรี ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฮานี ดือลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรที่มารับบริการด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ
15.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปีแต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุดซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจ นวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมากและแทบจะไม่รู้จักเลยทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ๆตัวเรานี้เอง และสามารถนำมาดูแลสุขภาพตั้งแต่การป้องกันการเกิดโรค รวมถึงการรักษาได้

    จากการสำรวจข้อมูล และรายงานการจัดเวทีประชาคมตำบลบาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา พบว่าประชาชนมีความต้องการที่จะเรียนรู้ในประโยชน์ และการนำใช้ของสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรในครัวเรือน เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และพบว่า ประชาชนที่ไปรับบริการ ที่ รพร.ยะหา และ รพ.สต.บาโงยซิแน ในการรักษา จะได้รับยาสมุนไพรในการรักษาด้วย โดยยาแก้การปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ จะใช้น้ำมันไพลในการทา เพื่อการรักษาและบรรเทา และมักมีปริมาณไม่เพียงพอ การนวดด้วยตนเอง โดยในปี 2560 มารักษา ที่ รพ.สต.บาโงยซิแนด้วยโรคปวดกล้ามเนื้อ มีจำนวน 1,270 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.50 ของผู้ป่วยที่มารักษาทั้งหมดโดยใช้น้ำมันไพลในการรักษา 1,749 ขวด และมีปริมาณน้ำมันไพลไม่เพียงพอในการให้บริการ

    กลุ่มพัฒนาเครือข่ายสตรี ตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน เห็นความสำคัญของการใช้และส่งเสริมการดูแลสุขภาพ และเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการบริการที่หลากหลาย  นอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และจะทำให้เกิดการพัฒนาแพทย์แผนไทยในพื้นที่ มีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรและใช้สมุนไพรในพื้นที่ มีนวัตกรรมด้านแพทย์แผนไทยในชุมชน ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน

    ดังนั้น ทางกลุ่มพัฒนาเครือข่ายสตรี ตำบลบาโงยซิแน  ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาไทย ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ในเรื่อง สมุนไพรที่ใช้ในการผลิตน้ำมันไพล

กลุ่มสตรีมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรที่ใช้ในการผลิตน้ำมันไพล ในระดับดี ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มสตรีสามารถผลิตน้ำมันไพลได้

กลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรม สามารถผลิตน้ำมันไพลได้ ร้อยละ 100

100.00
3 3. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพร ในการป้องกัน และรักษาพยาบาลเบื้องต้น

ร้อยละ 80 กลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรม มีการใช้น้ำสมุนไพร ในการป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ

80.00
4 4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม รู้จักวิธีการที่จะบรรเทาความปวดเมื่อย ความเครียดของตนเองและคนใกล้ชิดได้ด้วยท่าฤาษีดัดตน

ผู้เข้าอบรม รู้จักวิธีการที่จะบรรเทาความปวดเมื่อย ความเครียดของตนเองด้วยท่าฤาษีดัดตน ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,000.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 61 การอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 25,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 การส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพร 0 3,000.00 -
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มสตรี ตำบลบาโงยซิแน เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่เพื่อนบ้านได้
  • จัดทำเนื้อหาหลักสูตร ในเรื่อง การผลิตน้ำมันไพล วิธีการปลูกสมุนไพร การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ประโยชน์ของสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน การนวดคลายเครียด

  • ประสานวิทยากร และหากลุ่มเป้าหมายในการอบรม จำนวน 50 คน

  • จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่

  • ดำเนินการอบรมตามตารางอบรม จำนวน 1 วัน โดยมีทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ

  • สรุปผลการอบรม

  1. จัดทำมุมสมุนไพรสาธิต ที่กลุ่มพัฒนาเครือข่ายสตรี ตำบลบาโงยซิแน พร้อมบอกสรรพคุณ และวิธีทำ

  2. ส่งเสริมการปลูกไพล และขมิ้นในครัวเรือน

  3. ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมของชุมชน ในเรื่องสมุนไพร

  4. แกนนำสตรีนำความรู้ไปเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์แก่เพื่อนบ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสตรีที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่อง การผลิตน้ำมันไพล ในระดับดี
  2. กลุ่มสตรีสามารถผลิตน้ำมันไพลใช้เองได้
  3. กลุ่มสตรีมีการส่งเสริมการใช้สมุนไพร ในการป้องกัน และรักษาพยาบาลเบื้องต้น
  4. ผู้เข้าอบรม รู้จักวิธีการที่จะบรรเทาความปวดเมื่อย ความตึงเครียดของตนเองและคนใกล้ชิดด้วยท่าฤาษีดัดตน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 15:02 น.