กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับชีวิตพิชิตโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ ปารามะ ประธานอสม.ต.เปาะเส้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี หากคนเราไม่เอาใจใส่กับเรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในบ้าน อันได้แก่ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ การจัดการขยะน้ำเสียรวมทั้งสัตว์หรือแมลงพาหะนำโรค ก็อาจเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีอาหารและน้ำเป็นสื่อ และโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและมีแนวโน้มสูงขึ้น ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคล ที่มีวิถีชีวิตอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร และโภชนาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผลไม้ ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกินหรือโรคอ้วน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อให้เกิดปัจจัยเอื้อต่อการป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ของประชาชนจังหวัดยะลา ปี 2560 ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 156,932 คน และได้รับการ  คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 137,505 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 8,340 คน คิดเป็นร้อยละ 5.31 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันดลหิตสูงจำนวน 24,154 คน คิดเป็นร้อยละ 17.56 อำเภอเมืองยะลา ได้รับการ  คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 53,833 คน และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47,058 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 2,093 คน คิดเป็นร้อยละ 3.88 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันดลหิตสูงจำนวน 5,574 คนคิดเป็นร้อยละ 11.84 และตำบลเปาะเส้ง ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,661 คน และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,535 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 3.37 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 467 คน คิดเป็นร้อยละ 30.42 (ข้อมูลจาก รพ.สต.เปาะเส้ง) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเปาะเส้ง ในฐานะเครือข่ายของการขับเคลื่อนงานสาธารณสุขด้านการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี จึงได้จัดทำโครงการปรับชีวิตพิชิตโรค ตำบลเปาะเส้ง เพื่อให้ประชาชน มีพฤติกรรมที่ดี เหมาะสม ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และส่งเสริมสมาชิกในครอบครัวช่วยกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในและบริเวณบ้านให้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุน
    1. ประสานงานบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
    2. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3อ.2ส.
    3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง
    4. ติดตาม ประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง รายหมู่บ้าน
    5. รายงานผลการดำเนินงานต่อ รพ.สต.เปาะเส้ง และ อบต.เปาะเส้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 90 2. ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้และทัศนคติที่เหมาะสมในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3. ประชากรกลุ่มสี่ยง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามหลัก 3อ.2ส. สามารถดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2561 15:23 น.