กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดทำสวนสมุนไพรเพื่อชุมชน ชมรมสมุนไพร สอ.บ้านป่าบาก
รหัสโครงการ 61-L3341-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมสมุนไพร สอ.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 16 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 41,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรัล ชนะรัตน์ ,นางนี เลี่ยนกัตวา,นายสมบัติ ช่อคง
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทยอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า ภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อย ๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ซึ่งความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวางแต่เป็นเพราะเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาการแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด ทำให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ รู้จักสมุนไพรไทยได้น้อยมาก และแทบจะไม่รู้จักเลย ทั้ง ๆ ที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัวเรานี้เอง
สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยเนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมีการพึ่งพาตนเองด้านการรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุที่สมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในชุมชนหรือคนในครอบครัวจึงมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น หรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ และปัจจุบันประเทศไทยได้มีการสนใจใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน บางครั้งมีผลข้างเคียงในบางโรคและมีขีดจำกัดในการรักษา เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งตองมีแนวทางการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลของกระแสโรคในเรื่องสมุนไพรและแพทย์ทางเลือกก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาให้คนไทยหันมาบริโภคสมุนไพรกันมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านป่าบาก อำเภอป่าบอน เป็นสถานที่ที่มีการใช้สมุนไพรอย่างแพร่หลาย และต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยใช้พื้นที่บางส่วนของสถานที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการปลูกสมุนไพร จึงจำเป็นสำหรับแพทย์แผนไทยในการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค โดยนำสมุนไพรที่ปลูกไว้บริเวณรอบ ๆ สถานบริการมาปรุงเป็นยาเพื่อใช้ในการรักษาโรค ดังนั้นชมรมสมุนไพร สอ.บ้านป่าบาก จึงได้ทำโครงการจัดทำสวนสมุนไพร ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีสมุนไพรใช้ เกิดการดูแลสุขภาพโดยใช้เป็นยารักษาโรคร่วมภูมิปัญญาท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และเกิดภูมิปัญญาพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ต่อไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกชมรมสมุนไพรมีความรู้ในการใช้ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้การใช้ยาสมุนไพร

0.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีสวนสมุนไพรและใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ชุมชนมีและใช้สมุนไพรในการรักษาโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 ก.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย 60 13,200.00 13,200.00
26 ก.ค. 61 รณรงค์ปลูกสมุนไพรในชุมชน 0 6,000.00 6,000.00
26 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำสวนสมุนไพร 0 22,440.00 22,440.00
รวม 60 41,640.00 3 41,640.00

๑. ขั้นเตรียมการ (Plan) ๑.๑ สำรวจหาพื้นที่ ๑.๒ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล ๑.๓ ทำจัดประชุมชี้แจง สมาชิกชมรม เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน
    ๑.๕ นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากชมรมสวนสมุนไพร ๑.๖ จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ     ๑.๙ จัดเตรียม เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
๒. ขั้นดำเนินการ (Do) ๒.๑ ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๒.๒ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก่ชมรม     2.3 จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ ตามโครงการ     2.4 ดำเนินการปลูกสมุนไพร

๓. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) ๓.๑ ประเมินผลการดำเนินการ ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๓.๓ นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และ อบต.ทุ่งนารี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีสวนสมุนไพรในชุมชน และประชาชนสามารถนำสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคได้และมีการบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้ากับระบบบริการสุขภาพ สมาชิกเครือข่ายสุขภาพ ได้แก่ ชมรม สมุนไพร อสม. มีองค์ความรู้ทางวิชาการ และความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพเรื่องการใช้ยาสมุนไพร นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนและประชาชนในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 11:41 น.