กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0 – 5 ปี เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ 61-L3341-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ
วันที่อนุมัติ 16 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 41,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนี เลี่ยนกัตวา, นางกัลยา สนธ์น้อย,นางเจริญ คงสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 326 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือเด็กอายุ 0- 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน  ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร  ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง  การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง  และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก  ในช่วงไตรมาสที่1 งวดที่ 1 ตุลาคม – 30 ธันวาคม 2560 เด็กอายุ 0-5 ปีทั้งหมด 326 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด 304 คน คิดเป็นร้อยละ 94.48 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 23 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข  กำหนดให้ภาวะทุพโภชนาการมีไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ส่วนสูงเฉลี่ยอายุ 5 ปี ตามเกณฑ์ ร้อยละ 50.97 ซึ่งเกณฑ์ตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ 2561  เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54 จากข้อมูลสถิติจะเห็นไห้ได้ว่า เด็กอายุ 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย       การดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องมีความรู้ และมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการติดตามเฝ้าระวังโภชนาการเด็กเพียงพอและได้มาตรฐานตามที่กำหนด จากสภาพปัญหาดังกล่าว เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อจัดทำโครงการส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการ เด็กอายุ 0 – 5 ปี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทุพโภชนาการ

เด็ก 0- 5 ปีได้รับการ.เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทาง
  โภชนาการ ทุก 3 เดือน ≥ร้อยละ90

94.48
2 เพื่อ พัฒนาศักยภาพ อสม.เรื่องความรู้และการเฝ้าระวังทางโภชนาการ และการใช้เครื่องมือ ที่ถูกต้อง และ เหมาะสม

อสม. มีความรู้ สามารถชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กและอ่านค่า
  ตัวเลขได้ถูกต้องและเที่ยงตรง

90.00
3 เพื่อจัดให้มี และใช้เครื่องมือ การเฝ้าระวังทางโภชนาการ ในชุมชนอย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน ของสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ชุมชน มีชุดเครื่องชั่ง น้ำหนัก และที่วัดส่วนสูง ที่ได้มาตรฐาน
อย่างน้อยหมู่บ้านละ 2 ชุด

100.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )

1.เด็ก0-5ปี มีปัญหาทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 7 2.เด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 54

7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,700.00 2 41,700.00
25 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมย่อย.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และการเลี้ยงดูเด็ก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครอง เด็ก 0-5 ปี แบ่งเป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน 0 7,500.00 15,000.00
25 ก.ค. 61 กิจกรรมย่อย จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ ตาม โครงการ 0 19,200.00 26,700.00

๑. ขั้นเตรียมการ (Plan) ๑.๑ ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0 – ปี ในเขตรับผิดชอบ ๑.๒ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล ๑.๓ ทำจัดประชุมชี้แจง อสม. เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน
    ๑.๕ นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก ๑.๖ จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ     ๑.7 จัดเตรียม เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม


๒. ขั้นดำเนินการ (Do) ๒.๑ ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๒.๒ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และการเลี้ยงดูเด็ก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ปกครอง
      จำนวน 150 คน     2.3 สนับสนุนค่าอาหารเสริม(นมกล่อง UHTและไข่ )แก่เด็กจำนวน 300 คน     2.4 จัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ ตามโครงการ       - เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กแบบตัวเลข
      - ค่าอาหารเสริม(นมกล่อง UHTและไข่ )
      - วัสดุสำหรับการอบรม ๓. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) ๓.๑ ประเมินผลการดำเนินการ ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๓.๓ นำเสนอผลการดำเนินงานต่อผอ.รพ.สต.บ้านป่าบาก และ อบต.ทุ่งนารี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการลดลง
  2. เด็กอายุ 0- 5 ปี  มีพัฒนาการทางร่างกายจิตใจ เจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
  4. ชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 13:16 น.