กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี
รหัสโครงการ 2561-L1469-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางสัก
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 9,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางสัก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.397,99.383place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมุนไพรเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาเป็นเวลานาน สมัยปู่ ย่า ตายาย เมื่อมีการเจ็บไข้ ไม่สบายขึ้นในชุมชน หรือครอบครัว จะมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน ปัจจุบันมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เมื่อมีการเจ็บไข้ ไม่สบายก็ไปสถานพยาบาลเพื่อรักษา โดยลืมไปว่ายังมีสมุนไพรที่สามารถนำมาดูแล รักษาสุขภาพได้อีกทางหนึ่ง     ปัจจุบันสถานการณ์การป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โรคความดัน เบาหวาน ซึ่งเป็นในทุกช่วงอายุมีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นทุกปี สาเหตุก็เกิดจากการบบริโภค     ทุกคนก็หวังพึ่งหมอพยาบาลเพื่อทำการรักษา และจะรับยามากินในการรักษาโรค แต่โรคบางโรคการกินยาอย่างเดียว ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย การกินอาหารให้เหมาะสม และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอรวมถึงการทำแผนด้านจิตใจเรียนรู้ การผ่อนคลาย เพื่อให้ห่างไกลความเครียด เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ซึ่งหมายถึงพึ่งยาอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องพึ่งตนเอง รู้จักเลือกกินเลือกอยู่ให้สมดุลกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ/ประสานวิทยาวิทยากรให้ความรู้
  3. รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ/จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
  4. ดำเนินการอบรมให้ความรู้/แจกพันธุ์พืชผัก สมุนไพร
  5. ติตามประเมินผล/รายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำมารักษาโรคได้
  2. ผู้ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมันไพรไทยมาประยุคใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ
  3. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ด้านส่งเสริมการใช้สมันไพรในชีวิตประจำวัน และได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พืช สมุนไพร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 14:29 น.