กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรยาบี ใส่ใจสุขภาพ ลดเสี่ยง เสี่ยงโรค
รหัสโครงการ 61-L3070-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ยาบี (เงินกองทุน สปสช.ต.ยาบี)
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว การีมา หะยีสะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เกษตรกร เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร เป็นการเพาะปลูกพืชต่างๆ ในสวนและไร่นา รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง เพื่อผลิตเป็นอาหาร เส้นใยธรรมชาติ และเชื้อเพลิงต่าง ๆ อันเกิดมาจากการเกษตรกรรม ในปัจจุบันพบว่าแรงงานร้อยละ 42 ของโลกประกอบอาชีพเกษตรกร กระบวนการเกษตรกรรมนั้น มีลักษณะของการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายปัจจัย ซึ่งความเสี่ยงอันตรายด้านโรคจากการประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม เช่น ความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยทางเคมี ความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยทางชีวภาพ ความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยทางกายภาพและความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม
ตำบลยาบี มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึง ร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมดเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ เป็นต้น ซึ่งอาชีพเหล่านี้ล้วนแล้วมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย การบาดเจ็บกล้ามเนื้อและข้ออาการอ่อนเพลียจากความร้อนและความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์มีพิษกัดและอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดจากการใช้ยากำจัดศัตรูพืชหากไม่ได้มีการป้องกันอย่างถูกวิธี จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนังระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ร่างกายจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงไหน โดยส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี ได้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตลอดจนทำให้เกษตรกรตำบลยาบีมีสุขภาพที่ดีประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจัดโครงการเกษตรกรยาบี ใส่ใจสุขภาพ ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันหากใช้สารเคมี

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงาน

กลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงลดลงร้อยละ 20 และกลุ่มไม่ปลอดภัยลดลงร้อยละ 20

20.00
3 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันหากใช้สารเคมี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

6 ส.ค. 61 - 6 ก.ค. 61 ประชุมชี้แจงทีม อสม. 6.00 -
28 ส.ค. 61 ประชุมและให้ความรู้เกษตร 3.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมชี้แจงทีม อสม. จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรตำบลยาบี วางแผนงาน โดยการลงสำรวจ  คัดกรองและแยกประเภทอาชีพ
  2. ให้ความรู้กับเกษตรเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายที่เกิดจากการทำงาน
  3. รายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงลดลงร้อยละ 20 และกลุ่มไม่ปลอดภัยลดลงร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 17:11 น.