กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะห์ บาเหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะอ้วนหรือโรคอ้วนมีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลได้ทุกคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงของการเกิดภาวะอ้วนได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่น่าเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะอ้วนได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีพลังงานสูง วิถีชีวิต นั่งๆนอนๆ ขาดกิจกรรมทางกาย ประวัติความอ้วนในครอบครัว อายุที่มากขึ้น รวมทั้งการสูบบุหรี่ ซึ่งนโยบายคนไทยไร้พุง ตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุง ลดปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการ Metabolic อีกทั้งเพื่อเป็นต้นแบบองค์กรไร้พุง คณะกรรมการและคณะทำงานองค์กรไร้พุง โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการดำเนินงานต้นแบบองค์กรไร้พุง เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานกิจกรรมที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นการป้องกันโรคอ้วนและการมีสุขภาพที่ดีต่อไป พื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาภาวะอ้วนหรือโรคอ้วน และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือด และโรคหัวใจ ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ปี 2561 คิดเป็น 10.01 ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้ม ด้วยเหตุนี้การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

 

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
3 3.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,500.00 3 38,500.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 0 17,500.00 17,500.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 นัดตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 0 3,500.00 3,500.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ในประชาชนที่มีความเสี่ยง 0 17,500.00 17,500.00

1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง -อบรมให้ความรู้ -ตรวจสุขภาพครั้งที่ 1 -สาธิตการออกกำลังกาย โดยวิธีโยคะ -นัดตรวจสุขภาพครั้งที่ 2 3.ติดตามประเมินผลภายหลังการเข้ารับอบรมภายใน 4 เดือน รวบรวมข้อมูล -วัดรอบเอว -น้ำหนักตัว -ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน -อบรมให้ความรู้ -สาธิตการออกกำลังกาย โดยวิธียืดเหยียดกล้ามเนื้อ -ส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อรักษาต่อไป -ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมันในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย จัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ 2.ร้อยละ 30 ของผู้เข้ารับการอบรมมีน้ำหนักตัว ไขมันในเลือด มีรอบเอวที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมันในเรื่อง อาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม 4.ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว ไขมันในเลือดและมีรอบเอวที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 10:01 น.