กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 2561-L1490-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 18 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 39,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฑิตฐิตา จันทรกรัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเสี่ยงในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งยา อาหารเสริม เครื่องสำอางและเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย โดยกลยุทธหลักคือการโฆษณา กล่าวอ้างสรรพคุณโอ้อวด เป็นเท็จ เกินความจริง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก เรื่องการขายผลิตภัณฑ์โฆษณาอาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ในประเด็นเกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค เช่น ทำให้ผิวขาวใส บำรุงผิวพรรณ ชะลอไม่ให้ผิวหนังแก่ก่อนวัย ต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีอยู่ในเซลล์ รับแสงที่จอประสาทตา อีกทั้งมีผู้ร้องเรียนจำนวนหลายรายแจ้งว่ารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางรายการแล้วเกิดอาการ มือสั่น ใจสั่น คอแห้ง นอนไม่หลับ นั้น ผลจากการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติเครื่องสำอางพ.ศ. 2558 จำนวนมาก ซึ่งเข้าข่ายว่า มีการแสดงข้อความโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค โดยโฆษณาว่า เครื่องดื่มหุ่นสวย ช่วยลดเหงื่อ กลิ่นตัว ลดตุ่ม ผิวหนังไก่ พร้อมช่วยชะลอการเกิดขน เป็นต้น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ เห็นความสำคัญของปัญหาที่จะช่วยมิให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ จึงจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน โดยการจัดตั้งห้องปฏิบัติการชุมชนที่มมีมาตรฐานทั้งด้านบุคคล สถานที่ เครื่องมือ เพื่อประโยขน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน อันตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาล ในการที่จะให้ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการชุมชน ศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทดสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

เป็นต้นแบบห้องปฏิบัติการชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอำเภอเมืองตรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,190.00 0 0.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดตั้งห้องปฏิบัติการชุมชน 0 31,790.00 -
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ 0 7,400.00 -
31 ก.ค. 61 สำรวจเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงมีส่วนผสมของสารอันตรายในพื้นที่รับผิดชอบ เก็บตัวอย่างและทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงมี่ส่วนผสมของสารอันอันตรายในผลิตภัณฑ์ 0 0.00 -

1.จัดทำโครงการ/แผนการปฏิบัติงาน 2.เสนอโครงการ 3.เตรียมพื้นที่ในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการ 4.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ 5.สำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีวางจำหน่ายตามร้านขายของชำ ในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ 6.ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย และส่งยืนยันหาสารปนปลอมที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การพทย์ 7.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกหล่อมีความปลอดภัยจากใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งปราศจากการปนเปื้อนจากสารอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 10:09 น.