โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี |
รหัสโครงการ | 2561-L5258-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน |
วันที่อนุมัติ | 21 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 สิงหาคม 2561 - 23 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 24 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 16,920.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุพรรณี ทับทิมไทย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.624,101.057place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก ตำบลราตาปันยัง ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ๕ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ๖1.54 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ 92.86 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาที่มีภาวะซีดใกล้คลอด ร้อยละ ๒0.4 (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 10) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ |
0.00 | |
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์๑๒ สัปดาห์และได้คลอดในโรงพยาบาล หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ |
0.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม |
52.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,300.00 | 0 | 0.00 | 20,300.00 | |
23 ส.ค. 61 - 23 ก.ค. 61 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 0 | 20,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 20,300.00 | 0 | 0.00 | 20,300.00 |
๑. จัดประชุมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็ก
๒. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินโครงการ
๓. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก จัดทำมาตรฐานการดูแลในขณะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอดเพื่อพัฒนาตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
๔. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพ
๕. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทราบ
๖. กำหนดให้แกนนำอนามัยแม่และเด็ก สำรวจและติดตามหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
๗. จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย (หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ก่อน ๒๘ สัปดาห์)ในรูปแบบของโรงเรียนพ่อแม่
- หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน
- สามีหรือผู้ดูแลหญิงมีครรภ์จำนวน 30 คน
8. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก ออกติดตามล ดูแลหญิงตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อประเมิน และให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กทุกเดือน
๙.รายงานผลการดำเนินโครงการ
๑.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์๑๒ สัปดาห์และได้คลอดในโรงพยาบาล
๓.แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 16:09 น.