กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน
รหัสโครงการ 2561-L1490-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 18 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 28,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคณพศ ศรีประภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
      จากข้อมูลสถิติการระบาดของโรคฉี่หนูในเขตตำบลโคกหล่อ เมื่อปี ๒๕60 มีผู้ป่วยจำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 35.7 ต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการป่วยสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคที่ดี  การรณรงค์กำจัดพาหะนำโรคและการใช้เครื่องมือป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลโคกหล่อ ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญของปัญหาโรคเลปโตสไป-โรซีส เป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตเทศบาลตำบลโคกหล่อ

ลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส

มีการติดแผ่นป้ายเตือนในการลงในแหล่งน้ำในพื้นที่เสี่ยงจากโรคเลปโตสไปโรซีส

0.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์กำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะของโรค

มีการติดแผ่นป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคเลปโตสไปโรซีสและพาหะนำโรคถูกกำจัด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28.00 0 0.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 รณรงค์ตามโครงการฯ 0 28.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน   ๑. จัดทำโครงการขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ       ๒. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง       ๓. จัดประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง       ๔. รณรงค์กำจัดหนูโดยใช้ยากำจัดหนูและใช้เทคนิคอื่น ๆ
    5. ติดป้ายรณรงค์และห้ามลงในแหล่งน้ำ ในพื้นที่เสี่ยง     6. . ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
    7. รายงานผลการปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
      ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน         1) จัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน         2) ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 3) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์แจกแผ่นพับ โรคเล็ปโตสไปโรซิส     4) ติดป้ายไวนิลรณรงค์โรคเล็ปโตสไปโรซิส     5) ติดป้ายไวนิล ห้ามลงในแหล่งน้ำในพื้นที่เสี่ยง   ขั้นที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส เขตพื้นที่ ตำบล โคกหล่อ ไม่เกิน ๒๐ / ต่อแสนประชากร ๒. ประชาชนมีความรู้ และเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ๓. ทุกหมู่บ้าน , ครัวเรือน มีการการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2561 09:49 น.