กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาสติปัญญาเด็กวัยเรียนในพื้นที่ อบต.ตุยง
รหัสโครงการ 60-L3065-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลหนองจิก
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลหนองจิก
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832,101.178place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องพึ่งพ่อแม่ ผู้ใหญ่ ในการอบรมเลี้ยงดู ปกป้อง คุ้มครอง ให้ความรัก ความอบอุ่น
เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด การอบรมเลี้ยงดูที่มีคุณภาพจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโต สุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการสมดุลทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม มีความสามารถในการเรียนรู้และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ จากสถานการณ์ปัญหาระดับสติปัญญาเด็กไทย(IQ) ยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล่าสุด ผลการสำรวจระดับสติปัญญาในปี พ.ศ. 2554พบว่า มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 98.59(ค่าเฉลี่ยปกติ 90 – 109)ซึ่งถือว่าเป็นค่าระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ในปี 2555 พบว่า เด็กไทยมีทักษะทางด้านการคิดและการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดังเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ มีคะแนนรวมอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD ขณะที่ คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เฉลี่ยในระดับประเทศก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50-100 จากการดำเนินงานคัดกรอง IQ/EQ ในโรงเรียนนำร่อง คือ โรงเรียนวัดมุจลินทวาปิวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 108 ราย ในปี 2558 พบนักเรียนที่มีความเสี่ยง / มีปัญหา IQ/EQ จำนวน 30 ราย คิดเป็น 27 % จึงได้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพครูในการดูแลติดตามและให้คำปรึกษาเด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าวและมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้าง IQ/EQ ในเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยง/มีปัญหา ทำให้เด็กเหล่านั้นมี IQ/EQ ที่ดีขึ้น ซึ่งในปี 2560 ต้องการที่จะขยายโครงการโรงเรียนต้นแบบในโรงเรียนอื่นๆในเขตพื้นที่อำเภอหนองจิกต่อไป เด็กจะเกิดมามีความสามารถฉลาดหลักแหลมหรือเป็นคนที่ขาดความสามารถนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น “สมอง” ซึ่งพัฒนาการทางสมองเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงจำเป็นต้องพัฒนาสมองของเด็กสร้างเสริมความรู้ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสมอง ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการคิด การใช้ภาษาและอารมณ์ให้ถูกต้องตามจังหวะและเวลาที่เหมาะสมและเด็กควรได้รับการประเมินปัญหา ส่งเสริม ดูแลศักยภาพของเด็ก ทั้งความสามารถทางเชาวน์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อป้องกันปัญหาในการเรียนและการใช้ชีวิตในอนาคตของเด็กนักเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 โรงเรียนต้นแบบอย่างน้อย 1 โรงเรียนได้พัฒนาระบบเฝ้าระวัง IQ/EQ

ร้อยละ 70 ของเด็กวัยเรียนที่มีปัญหา IQ/EQ ได้รับการดูแล

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับIQ/ EQ แก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
    1. คัดกรอง IQ/ EQ นักเรียน
    2. ทีมสหวิชาชีพติดตามผลการคัดกรองIQ / EQ
    3. ส่งเสริม ดูแลนักเรียนที่มีปัญหา IQ / EQ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมความสามารถทางเชาวน์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กนักเรียน
    1. ครูมีศักยภาพในการดูแลติดตามและให้คำปรึกษาเด็กนักเรียนมากขึ้น
    2. เด็กได้รับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการคิด การใช้ภาษาและอารมณ์ให้ถูกต้องตามจังหวะและเวลาที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2560 15:16 น.