กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตำบลบือมัง
รหัสโครงการ 61-L4163-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาสะอารี มาดีโมง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.411,101.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 ส.ค. 2561 6 ส.ค. 2561 44,300.00
รวมงบประมาณ 44,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเตัานม เป็นโรคที่พบบ่อยในสตรีไทย ซึ่งอาการของโรคในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการปวด เมื่อเป็นมากขึ้นจะคลำพบก้อนเนื้อได้ด้วยตนเอง หญิงวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมทุกคน เมื่อเป็นโรคระยะสุดท้ายจะรักษาไม่หาย ทางป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนและเมื่อคลำพบก้อนผิดปกติรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์เพื่อตรวจที่ถูกต้องต่อไป จากรายงานของ รพ.สต.บือมัง ปี 2560 มีผู้ป่วยคลำพบก้อนที่เต้านม 3 ราย เป็นก้อนเนื้อดี 1 ราย ก้อนเนื้อร้าย 2 ราย มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย และมีอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเท่ากับ 19.5 ต่อแสนประชากร โดยพบมากที่สุดระหว่างอายุ 30-60 ปี ซึ่งระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลามและอัตราอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้น ถ้าพบในระยะเริ่มแรก มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถตรวจพบตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วยการตรวจ Pap smear ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองโรคด้วยการทดสอบทางเซลล์วิทยา ทำได้ง่าย เสียเวลาน้อย ค่าใช้จ่ายถูกและให้ความแม่นยำได้ดี กลุ่มสตรีที่มีอายุ 30 ถึง 60 ปีซึ่งเป็นกลุ่มเสียงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 5 ปี/ครั้ง ในขณะเดียวกันหากสตรีไม่มีการดูแลตนเองด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำแล้วพบว่า สตรีมักไปพบแพทย์เมื่อโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระยะรุนแรงทำให้ขาดโอกาสในการหายจากโรคและต้องสูญเสียทรัพยากรในการรักษาทั้งในด้านส่วนบุคคลและประเทศชาติการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในตำบลบือมังในเรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 80 (สะสม 5 ปี) ในเรื่องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ 70 (ทุกปี) สำหรับตำบลบือมังจากสถานการณ์ 5 ปี ย้อนหลังมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย มะเร็งเต้านม 6 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดย 3 ราย ที่เสียชีวิตเข้ารับการรักษาในระยะท้ายของโรคแล้ว ดังนั้นเพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์เข้าถึงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกตามสิทธิที่พึงได้รับ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลบือมัง โดยการคืนข้อมูลและสถานการณ์โรคของตำบลบือมังแก่ชุมชนจัดเวทีเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างชาวบ้าน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง ผู้รับผิดชอบงานมะเร็งประจำ รพ.สต.บือมังและสอนการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์เข้าใจและทราบถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,300.00 1 44,300.00
1 ส.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 โครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลบือมัง 0 44,300.00 44,300.00

1.ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ
2.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย   หมู่ที่ 1 จำนวน 35 คน   หมู่ที่ 2 จำนวน 35 คน   หมู่ที่ 3 จำนวน 35 คน   หมู่ที่ 4 จำนวน 35 คน   หมู่ที่ 5 จำนวน 25 คน   หมู่ที่ 6 จำนวน 25 คน 3.จัดเตรียมเอกสาร/อุปกรณ์และสถานที่ 4.ดำเนินการคืนข้อมูลแก่ชุมชนและจัดเวทีเรียนรู้แลกเปลี่ยนในแต่ละหมู่บ้านตามตารางดำเนินงาน 5.ติดตั้งป้ายรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในชุมชน 3 จุด 6.ประสานกับทาง รพ.สต.บือมังเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีวัยเจริญพันธ์ุมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีวัยเจริญพันธุ์ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก (ไม่นับที่ตรวจแล้ว) 3.สตรีวัยเจริญพันธุ์ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2561 12:54 น.