กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2561-L2513-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซือเลาะ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรี ปูเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.398,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบันและในอนาคตปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งจังหวัดนราธิวาสมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ๑,๑๒๒.๕๕ ต่อแสนประชากร อัตราตาย ๒๓.๘๙ โรคเบาหวานอัตราป่วย ๕๐๗.๙๙ ต่อแสนประชากร อัตราตาย ๑๔.๐๖ ต่อแสนประชากร (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสมีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกวัน จากการสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซือเลาะ พบว่าประชาชนมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๒๙ คน โรคเบาหวาน จำนวน 7๒ ราย และมีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซือเลาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจ
  ในแนวเดียวกัน 3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมาย
  โดยคัดกรอง
  ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการปรับเปลี่ยน
  พฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เช่น อบต. ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
๕. ประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯแกนนำ อสม. ๖. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ ต่างๆ ในการเก็บข้อมูลให้เพียงพอในการดำเนินงาน       ๗. เปิดคลินิกวันพุธที่ ๓ ของเดือน โดยรับลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ตรวจร่างกายและ
สัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของกองสุขศึกษา อบรมให้ความรู้การ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส .(อารมณ์,อาหาร,ออกกำลังกาย,ไม่สูบบุหรี่,ไม่ดื่มสุรา) จัด กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกาย ตารางเก้าช่องและประเมินผล ๖ ครั้ง
๘. ประเมินผล สรุป หลังเข้าร่วมโครงการ ๖ เดือน บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูล JHCIS เพื่อส่งต่อข้อมูล   ใน HDC ต่อไป   ๙. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ ๔ และอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ ๘ (ข้อมูลจาก HDC)       ๒. กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพทั้งทางด้านความรู้และการดูแลตัวเองเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง       ๓. กลุ่มเป้าหมายมีความตื่นตัว ตระหนัก ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง       ๔. กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามดูแลอย่างถูกต้องต่อเนื่อง เมื่อค้นพบภาวะผิดปกติสามารถรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2561 19:21 น.