กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบวร รวมใจ จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ปี2(สร้างจิตอาสาวัยใส)
รหัสโครงการ 60-50091-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดท่าข้าม ม.3 ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 พฤศจิกายน 2559 - 16 ธันวาคม 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดวงรัตน์ วงศ์สว่างศิริ โรงเรียนวัดท่าข้าม ม.3 ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.041,100.574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนผ่านสู่ประชากรสูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสมาชิกในยุโรปอเมริกาเหนือ ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว (Population Reference Bureau, 2012) ในขณะที่บางประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดแล้วเช่นกัน ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มสังคมสูงวัยของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ จาก การสำรวจขององค์การสหประชาชาติพบว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยนี้มีระยะเวลาที่ ค่อนข้างสั้นหรือใช้เวลาเพียงประมาณ 20 ปี ในการเพิ่มสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเป็นเท่าตัวในขณะที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะใช้เวลานานประมาณ 70 ปีขึ้นไป (ปราโมทย์ , 2556) จากการคาดการณ์ถึง โครงสร้างของประชากรไทยที่กาลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต พบว่าแนวโน้มของจำนวนประชากรของประเทศ ไทยทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและลดลงโดยมีการลดลงของประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์และมีการเพิ่มขึ้น ของประชากรของผู้สูงอายุ เนื่องมาจากประเทศไทยมีระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและ ทันสมัยทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ตลอดจนมีการ ดูแลรักษาสุขภาพที่ดีและนิยมหันมาออกกาลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น(สานักงานสถิติแห่งชาติ , 2556) การ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 3 - 4 ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศ เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย ตั้งแต่ประมาณปี 2543 - 2544 คือ มีประชากรอายุ 60 ปีคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2558 -2573 พบว่าภาพรวมประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ “สังคมสูงวัย” และในอีก 10 ปี ข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2557) นอกจากสัดส่วนผู้สูงอายุ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีอีกตัวบ่งชี้หนึ่งที่แสดงถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว นั่นคือ “ดัชนีการสูงวัย” ที่เป็น อัตราส่วนระหว่างร้อยละของจานวนประชากรสูงอายุต่อจานวนประชากรวัยเด็ก จากข้อมูลประชากรผู้ที่มี สัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจากทะเบียนราษฎร์ของสานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง พบว่า ในปี พ.ศ. 2558 ดัชนีการสูงวัยของประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 67.44 และมีแนวโน้ มคาดการณ์ดัชนี การสูงวัยพ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2573 คิดเป็น ร้อยละ 82.68- 90.35 จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งในจังหวัด
3 สงขลา มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากถึง 177,401 คน คิดเป็นชาย 77,786 คนและหญิง 99,615 คนโดย ดัชนีการสูงวัยคิดเป็นร้อยละ 56.39 และจากฐานข้อมูล JHCIS รพ.สต. ท่าข้ามบ้านเขากลอยตกของหมู่ที่ 3 บ้านท่าข้ามพบว่า มีจานวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้านทั้งหมด 1,092 คนโดยมีผู้สูงอายุ จานวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 20.70 ของประชากรทั้งหมด สืบเนื่องจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจำปีการศึกษา 2558 ได้จัดทาโครงการ “บวร”รวมใจ สร้าง “จิตอาสาวัยใส”ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม (ปีที่ 1)ขึ้นซึ่งเป็นโครงการที่ ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ โดยการส่งเสริมให้นักเรียน โรงเรียนวัดท่าข้ามได้มีส่วนร่วมในการดูแลและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ สร้างจิตสานึกและปลูกฝังให้เกิดมี ทัศนคติที่ดี มีการเชิญพระคุณเจ้าจากวัดท่าข้ามมานาสวดเจริญพรเพื่อเสริมสร้างความสงบ สร้างสมาธิแก่ ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมโครงการ มีการดูแล ช่วยเหลือและติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกับผู้นำชุมชนซึ่ง เป็นตัวแทนประชาชนสอดคล้องแนวคิด “บวร” ที่เป็นความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน โดย ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในชุมชน ทั้งนี้จากการทากระบวนการกลุ่มร่วมกับชุมชน ทางชุมชนจึงมีความประสงค์ให้จัดโครงการอย่าง ต่อเนื่องและทางโรงเรียนวัดท่าข้ามก็มีความสนใจและสนับสนุนให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบกับจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนของผู้สูงอายุพบว่า ยังมีผู้สูงอายุจานวนหนึ่งที่ยังขาดการดูแลอย่าง ทั่วถึง ทางคณะนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559จึงเล็งเห็นว่า ปัญหาการดูแลผู้สู งอายุเป็นสิ่งที่ ควรตระหนักและให้ความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทาโครงการ “บวร”รวมใจ สร้าง “จิตอาสาวัยใส” ใส่ใจ ผู้สูงอายุบ้านท่าข้ามปี 2 โดยทางโรงเรียนวัดท่าข้ามได้มุ่งเน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมหลักของ คนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.ให้กับเยาวชน โดยเฉพาะ ความกตัญญูรู้คุณ และส่งเสริมให้กับ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้ศักยภาพของตนเองในการดูแลและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านร่วมกับนักศึกษา พยาบาล และสนับสนุนให้มีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างแท้จริงและเกิด สัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างผู้สูงอายุกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ

- ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครนักเรียนจิตอาสาโรงเรียนวัดท่าข้าม - ประชุมร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม เพื่อกาหนดกรอบและแนวทางการจัดกิจกรรม ร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนที่มีต่อโครงการ - สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนนักเรียนจิตอาสาโรงเรียนวัดท่าข้าม - เตรียมความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลและนักเรียนจิตอาสา โดยการให้ความรู้ เรื่อง “โยคะและการนวดในผู้สูงอายุ” - ประเมินทักษะการอ่านของนักเรียนจิตอาสาและแจกหนังสือคุณธรรม แก่นักเรียน ทุกคน - ประกวดความสามารถในการอ่านเพื่อเป็นตัวแทนการอ่านหนังสือคุณธรรมในงาน วันมหกรรมสุขภาพ 2. ขั้นดาเนินโครงการ - นักศึกษาพยาบาลร่วมกับนักเรียนจิตอาสา ลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุตามรายเยี่ยม - นักเรียนจิตอาสาร่วมกันนวดผู้สูงอายุในวันมหกรรมสุขภาพ 3. ขั้นติดตามและประเมินผล 3.1 ดาเนินการติดตามและประเมินผลรายวันของนักเรียนจิตอาสา - แบบประเมินผลรายวัน ในรูปแบบของแบบสะท้อนการเรียนรู้ประจาวันของ นักเรียนจิตอาสา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 11:22 น.