โครงการลดละเลิกบุหรี่เพื่อชีวีมีสุข ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการลดละเลิกบุหรี่เพื่อชีวีมีสุข ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | L2485 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน |
วันที่อนุมัติ | 10 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 มิถุนายน 2563 - 26 มิถุนายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 มิถุนายน 2563 |
งบประมาณ | 9,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชาติชาย แก้วเมฆ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายชาติชาย แก้วเมฆ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของคนสูบบุหรี่หน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคน อยู่ในกลุ่มอายุ 25 – 59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23. 5 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และอายุ 15- 24 ปี ร้อยละ 14.7 ตามลำดับ มีผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2 - 3 แสนคนต่อปี คนไทยเสียชีวิต จากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมด องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 (6) ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดละเลิกบุหรี่เพื่อชีวีมีสุข ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่มีความรู้ความเขาใจ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดละเลิกบุหรี่ ส่งผลต่อจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ลดลงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ เข้าร่วมในโครงการ ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดละเลิกบุหรี่
|
0.00 | |
3 | เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 9,200.00 | 1 | 9,200.00 | 0.00 | |
26 มิ.ย. 63 | จัดกิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ ในกิจกรรมของโทษบุหรี่ | 50 | 9,200.00 | ✔ | 9,200.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 50 | 9,200.00 | 1 | 9,200.00 | 0.00 |
1) จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ
2) ประชุมชี้แจงและวางแผนโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3) ประสานวิทยากรในการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
4) จัดอบรมให้ความรู้ ในหัวข้อต่อไปนี้
4.1 โทษและพิษภัยของบุหรี่
4.2 โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
4.3 กลยุทธ์ในการเลิกบุหรี่
4.4 การเข้าสู่ระบบการบำบัด เพื่อเลิกบุหรี่
5) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดละเลิกบุหรี่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2561 00:00 น.