กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ
รหัสโครงการ 60-L3013-01-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิงแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กันยายน 2561 - 22 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 79,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.866,101.289place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ส.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 79,050.00
รวมงบประมาณ 79,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบันข่าวเกี่ยวกับเด็กและผู้ฝึกสอนกีฬาฟุบอลทีมหมู่ป่าติดอยู่ในถ้ำ และปัญหาเด็กติดในรถยนต์สามารถนำไปเป็นบทเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว ดังนั้นทั้งตำบลบานาเป็นพื้นที่ติดกับอ่าวและพื้นที่ลุ่มมีแหล่งน้ำมากมาย ที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเอง หรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้อาสาสมัครในชุมชน ก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่จะเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ และนำส่ง โรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้ องค์การบริหารส่วนตำบลบานา โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงความจำเป็น จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในเขตพื้นที่ตำบลบานา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ทีมเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในเขตตำบลบานา

ร้อยละ  90  ของทีมเครือข่ายการเฝ้าระวังและป้องกันเด็กจมน้ำในเขตตำบลบานา 

0.00
2 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

ร้อยละ  90  ของเด็กที่รอดชีวิตจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

0.00
3 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการติดอยู่ในรถยนต์

ร้อยละ  90  ของเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการติดอยู่ในรถยนต์ 

0.00
4 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการสัมผัสไฟฟ้า

ร้อยละ  90  ของเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการสัมผัสไฟฟ้า

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,050.00 2 79,050.00
20 - 22 ก.ย. 61 กิจกรรมฝึกทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้ ติดอยู่ในรถยนต์ -การเอาชีวิตรอดจากการสัมผัสไฟฟ้า 0 68,700.00 68,700.00
1 ต.ค. 61 อบรมให้ความรู้ทีมเครือข่ายการเฝ้าระหว่างป้องกันเด้กจมน้ำ 0 10,350.00 10,350.00
  1. จัดอบรมให้ความรู้ทีมเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในเขตตำบลบานา  เช่น ครู ผู้ปกครองเด็ก
  2. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและทักษะการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำในกลุ่มนักเรียน ตามหลักสูตรดังนี้           2.1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก

- แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน - สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฎการณ์ Rip Current - วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย - ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ (การปฏิบัติตามระเบียบการใช้สระน้ำ และกฎ แห่งความปลอดภัยทั่วไป ) - ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ           2.2 การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ เป็นการสอนให้เด็กมีทักษะ - การเอาชีวิตรอดในน้ำ โดยการลอยตัวทั้งการลอยตัวแบบนอนคว่ำ การลอยตัวแบบนอน หงาย (แม่ชีลอยน้ำ ) และการลอยตัวแบบลำตัวตั้ง ( การลอยคอ การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ ) การทำท่าผีจีน การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำใน น้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ - พื้นฐานการว่ายน้ำ ได้แก่การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ การหายใจในการว่ายน้ำ และการ เตะเท้าคว่ำสลับกัน

2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจาก ผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ และการช่วย ผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น ท่อ PVC ไม้ไผ่ กิ่งไม้  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีและช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ตกน้ำ จมน้ำ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล     4. จัดกิจกรรมฝึกทักษะให้กับเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการติดอยู่ในรถยนต์
      5. จัดกิจกรรมฝึกทักษะให้กับเด็กในการเอาชีวิตรอดจากการสัมผัสไฟฟ้า
    6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน     7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีมเครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำตำบลบานา มีความรู้และทักษะในการสอนเด็กนักเรียนในหลักสูตรการเอาชีวิตรอดจากการ
    ตกน้ำจมน้ำ
  2. ชุมชนและผู้ปกครองมีความตระหนักในการป้องกันการเสียชีวิตจากตกน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
    1. แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนมีการจัดการเพื่อความปลอดภัย
  3. ลดการเสียชีวิตของเด็กจากการตกน้ำจมน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561 13:17 น.