กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักข้างศูนย์ อาหารข้างรั้ว ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศพด.บ้านบางมะรวด อบต.บ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กันยายน 2561 - 12 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางมะรวด ม.1 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ก.ย. 2561 12 ก.ย. 2561 17,400.00
รวมงบประมาณ 17,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยมีสารพิษ เพราะผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้สารเคมี ที่เป็นโทษเหล่านั้นตกค้างอยู่กับผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโภชนาการด้านสุขภาพ การดูแลรักษาเมื่อเกิดกรณีเจ็บป่วย ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปน ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ และการซื้อผักจากท้องตลาดนั้นค่อนข้างมีราคาแพงและอาจมีสารเคมีตกค้าง การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองนั้นถือเป็นการสำรองอาหารอีกวิธีหนึ่ง โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิต ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตรายที่มีในชุมชนในครัวเรือน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางมะรวด มีความปลอดภัยด้านรับประทานอาหารและเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และรู้จักกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอย่างมีคุณภาพ จึงต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งในส่วนการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ดำเนินการประกอบอาหาร ผู้ปกครอง มีการจัดกิจกรรมอาหารกลางวันให้กับเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้หาแนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและต่อยอดไปในครัวเรือนของเด็ก รวมทั้งรู้จักการนำเศษอาหารที่ทานไม่หมดหรือขยะอินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครัวเรือน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างแท้จริง เพื่อการมีสุขอนามัยและสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการสมวัยมีภูมิต้านทานโรคที่ดี ทำให้เด็กเล็กได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กเล็กได้เรียนรู้และรู้จักการปลูก ประโยชน์ของพืชผัก สมุนไพรในการบริโภคให้ปลอดสารเคมี 2. เพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี ในการรับประทานอาหาร อาหารดีมีประโยชน์ ครบตามหลักโภชนาการ 3. เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กเล็กด้านการเกษตรผสมผสานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเด็ก
  1. เพื่อให้เด็กเล็กได้เรียนรู้และรู้จักการปลูก ประโยชน์ของพืชผัก สมุนไพรในการบริโภคให้ปลอดสารเคมี
  2. เพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี ในการรับประทานอาหาร อาหารดีมีประโยชน์ ครบตามหลักโภชนาการ
  3. เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กเล็กด้านการเกษตรผสมผสานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  4. เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเด็ก
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 ก.ย. 61 ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงานระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง คณะกรรมการฯ 2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อผักและการปรุงอาหารโดยมีผักเป็นส่วนประกอบ 3. จัดกิจกรรมให้ครูศึกษาความรู้ในการปลูกผักสวนครัวและศึกษาสภาพดิน อุปกรณ์ในการปลูกผัก 4. จัดกิจ 62 17,400.00 17,400.00
รวม 62 17,400.00 1 17,400.00
  1. ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงานระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง คณะกรรมการฯ
  2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อผักและการปรุงอาหารโดยมีผักเป็นส่วนประกอบ
  3. จัดกิจกรรมให้ครูศึกษาความรู้ในการปลูกผักสวนครัวและศึกษาสภาพดิน อุปกรณ์ในการปลูกผัก
  4. จัดกิจกรรมให้เด็กเล็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  5. จัดกิจกรรมการส่งเสริมการรับประทานผักที่ปลอดสารพิษและนำผักที่ปลูกมาประกอบอาหาร
  6. จัดกิจกรรมการส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนของเด็กเล็ก
  7. ประเมินผลและสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กเล็กได้เรียนรู้และรู้จักการปลูก ประโยชน์ของพืชผัก สมุนไพรในการบริโภคผักปลอดสารพิษ
2 เสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี อาหารดีมีประโยชน์ ครบตามหลักโภชนาการ
3 มีแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กเล็กด้านการเกษตรผสมผสานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ดูแลเด็ก
  ผู้ปกครองและเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2561 15:13 น.