กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2489-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาเระเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาเระเหนือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.571,101.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย สถานการณ์การเกิดโรคพบสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการระบาดของโรคนี้กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักระบาดในช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม ของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝนซึ่งเหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของยุงลาย การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกๆครัวเรือน โดยเฉพาะการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สำหรับสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557-2559ของตำบลบาเระเหนืออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่าในปี พ.ศ. 2557มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 286.48 ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2558มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 209.83 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ. 2559มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 22 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 370.74 ต่อประชากรแสนคน จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2559 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(อัตราป่วยของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน)และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 นอกจากนั้นแล้วค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย BI, CI และHI ในชุมชนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เหมาะแก่การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ง่าย ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำ/ภาคีเครือข่ายในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนด้านการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในสถานบริการและในชุมชน 3. ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2 ครั้ง/ปี/หมู่บ้านพร้อมคำนวณ หาค่าCI และ HI
  3. แกนนำ/ภาคีเครือข่ายออกติดตามและแนะนำให้สมาชิกแต่ละครัวเรือนในชุมชนให้มีการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกเดือน
  4. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในและบริเวณบ้านโดยแม่บ้าน/สมาชิกในครัวเรือน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  5. ติดตามการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนโดยเจ้าหน้าที่/อสม. 2 ครั้ง/ปี/โรงเรียน
  6. ทีมควบคุมโรคระดับตำบลและหมู่บ้าน(ทีม SRRT) ออกไปสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งหรือรับรายงาน
  7. ฉีดยากำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยแกนนำ/ภาคีเครือข่ายหรือแม่บ้าน/สมาชิกในครัวเรือนและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและรอบบริเวณบ้านรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
  8. การติดตามและประเมินผลโครงการ

- ประเมินค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย BI,CI และHIในชุมชนโดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย(กอ.3) - ใช้แบบรายงานสอบสวนโรคไข้เลือดออกเฉพาะราย - ใช้โปรแกรม Naradusis.com ในการประเมินอัตราป่วย/อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกๆ
    7 วัน อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    1. อัตราป่วย และอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง จนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 15:38 น.