กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพที่บ้าน สร้างเครือข่ายชุมชน ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ 61-L5182-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.นาหว้า
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเยาวรัส ชฎารัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.896,100.655place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ส.ค. 2561 28 ก.ย. 2561 24,800.00
รวมงบประมาณ 24,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวรัฐบาลมีนโยบายทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูและซึ่งกันและกัน     จากข้อมูลปีงบประมาณ 2559 ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบมีผู้ป่วยที่ขอรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์จากการนอนติดเตียง ทั้งหมด79,970 คน ขอรับอุปกรณ์เครื่องช่วยสำหรับคนพิการจำนวน 1,376 คน ซึ่งมีความต้องการอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายเพิ่มจำนวนมากขึ้น ข้อมูลจากการลงเยี่ยมบ้านขอ รพ.สต.นาหว้า ปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยติดเตียงทั้งสิ้น จำนวน 14 ราย จำแนกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและได้รับการดูแลโดยระบบการดูแลระยะยาวแล้ว จำนวน 7 ราย กลุ่มวัยทำงานมีภาวะเทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและติดเตียง จำนวน 1 ราย กลุ่มวัยทำงาน ติดเตียงจากอุบัติเหตุ 2 ราย ซึ่งพบปัญหาสุภาพ การเข้าถึงบริการ การฟื้นฟูสภาพ การขาดกำลังใจ ผู้ดูและมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน     ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาหว้า เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลสุขภาพที่บ้าน สร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดเตียง ปี 2561 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ care giver, จิตอาสา, ผู้นำชุมชน, อสม. ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปดูแลญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลที่บ้าน จิตอาสา มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี

80.00
2 เพื่อให้เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูแลสุขภาพที่บ้านเพิ่มมากขึ้น

50.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่โดยการเยี่ยมบ้านบูรณาการ

ร้อยละ 50 ค้นพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 ส.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 ดูแลสุขภาพที่บ้าน สร้างเครือข่ายชุมชน ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 40 24,800.00 0.00
รวม 40 24,800.00 1 0.00

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินตามโครงการโดยเรียกเจ้าหน้าที่มาชี้แจงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงเป้าหมายไปในทางเดียวกัน 3.ประชุมชี้แจง/แนวทางการดำเนินงานและสรุปผลแก่ อสม./จนท./ผู้นำชุมชน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.จัดเตรียมทีมดูแลด้านสังคมในรูปแบบเครือข่าย ได้แก่ ผู้นำชุมชน อสม. จิตอาสา Care giver เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ กำหนดบทบาทหน้าที่ของทีม กำหนดเป้าหมายการเยี่ยมบ้าน 5.ติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อความพร้อม 6.เตรียมเครื่องมือในการดำเนินงาน 7.ดำเนินการอบรม
8.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ดูแลที่บ้าน จิตอาสา มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้อง 2.เกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.พบผู้ป่วยรายใหม่โดยการเยี่ยมบ้านบูรณาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 10:34 น.