กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ปกครองส่งเสริมมารับวัคซีน เด็กอายุ 0-5 ปี เขตหมู่2,5,8,10
รหัสโครงการ 61-L2529-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จำช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่เด็ก ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันไ้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาวะค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ   ในการดำเนินงานให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ในเขต อบต.ศรีสาคร ได้แก่ หมู่ 2,5,8,10 ตำบลศรีสาคร พบว่าข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ ปี 2559 เป็นต้นมา ตั้งแต่ได้รับความร่วมมือกับ อบต.ศรีสาคร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.สรีสาคร อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 แต่ผลงานก็ยังต่ำกว่าร้อยละ 95 ปัญหาที่ผ่านมาพบว่ายังเป็นปัญหาเดิมๆคือส่วนหนึ่งเกิดจาก ผู้ปกครองของเด็กไม่พาเด็กมารับวัคซีนตามนัด เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่มาวันนัด ติดธุระ/ภารกิจสำคัญในวันที่การฉีดวัคซีน หรือพาเด็กย้ายออกนอกพื้นที่อื่น กลัวลูกเป็นไข้ ไม่สบาย ฉีดแล้วบวมแดง ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและหารายได้ การได้รับข้อมูลที่ผิดๆ เช่น ฉีดวัคซีนและ้วลูกเดินไม่ได้ ฉีดแล้วอาจทำให้ลูกตาย ส่วนปัญหาด้านเจ้าหน้าที่ การบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน ขาดการติดตาม และคืนข้อมูลการรายงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ร่วมทั้งการติดตาม กำกับการบันทึกข้อมูล การประมวลผลความครอบคลุมในระบบฐานข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถดูข้อมูลได้ เด็กในบัญชี ชื่อที่อยู่ไม่ตรงกับข้อมูลที่ให้ เขตรับผิดชอบมีหลายชุมชนไหน ออกติดตามเยี่ยมบ้านแล้วหาไม่เจอ จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ขอโรงพยาบาลศรีสาคร พบว่า มีเด็ก 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 20 คนต่อสัปดาห์ และมีเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เฉลี่ย 10 คน ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 41.23 จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้อัตราความครอบคลุม การรับวัคซีนในเด็กน้อย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.05 และพบอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคหัดลดลง ในปี 59 ร้อยละ 75.34 ต่อแสนประชากร   กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.ศรีสาคร ได้เห็นความสำคัญของการแก้ไข้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ปกครองส่งเสริมมารับวัคซีน เด็ก 0-5 ปี ตามเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ร้อยละ 10

0.00
2 2. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ในเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละ 85

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ให้มีสุขภาพดีตามวัย

ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. บริการซักประวัติ ประเมินพัฒนาการและตรวจร่างกายพร้อมจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ
  2. แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก เช่นประเมินภาวะโภชนาการ ,เจาะ HCT ในเด็กน้ำหนักน้อย ,จ่าย วิตามินเสริมธาตุเหล็ก ,ยาถ่ายพยาธิ
  3. ค้นหา/สำรวจเด็กเกิดใหม่ ย้ายเข้าย้ายออก
  4. ติดตาม ค้นหาเด็กขาดนัด ขาดวัคซีน สิทธิบัตร
  5. ให้บริการวัคซีนและติดตามผลการรักษา ส่งต่อ การดูแลหลังรับวัคซีน การดูแลต่อเนื่อง
  6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดกลุ่ม /Self Health Group กลุ่มผู้ปกครอง 7.ประเมินความพึงพอใจและสรุปผลการดำเนินงาน
  7. ทำแบบประเมินพฤติกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมความรู้/ทักษะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนน้อยกว่าร้อยละ 8
  2. อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี มากกว่าร้อยละ 80
  3. เด็ก 0-5 ปี ให้มีสุขภาพดีตามวัย ร้อยละ 85
  4. ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 11:49 น.