กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขับขี่ปลอดภัย รู้วินัยการจราจร ประจำปี 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานรักษาความสงบ ฝ่ายปกครอง สำนักปลัดเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 41,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สุรพล ทองประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาจากอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกายพิการ ทุพพลภาพ ตลอดจนทรัพย์สิน จากรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุในประเทศไทยในแต่ละปี ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555-2559) พบว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 14,771 คนต่อปี ปี 2559 กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต คือ ประชากรช่วง  อายุ 15-19 ปี รองลงมา คือ 20-24 ปี โดยผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง 3 เท่าในทุกๆช่วงอายุ จักรยานยนต์เป็นประเภท  ของยานพาหนะที่ทำให้มีการสูญเสียชีวิตมากที่สุด รองลงมา คือ รถเก๋ง และผู้ที่ใช้ทางเท้าตามลำดับ(กระทรวงสาธารณสุข, 2560)

ในจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่เฝ้าระวังและให้ความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ    ทางจราจร โดยสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานีระหว่างปี 2556-2560 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ปี 2559 มีจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 461 ครั้งต่อปี รองลงมา คือ ปี 2560 จำนวน 342 ครั้งต่อปี และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสูงที่สุดในปี 2559 รองลงมาคือ ปี 2560 จำนวน 507 ราย และ 358 ราย ตามลำดับ แต่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในปี 2559 และ 2560 จำนวน 6 ราย เท่ากัน (ตารางที่ 1) จักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่ทำให้เกิดการสูญเสียมากที่สุดเช่นกัน (ตารางที่ 2) และช่วงเวลาการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ 15.00-18.00 น. (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี 2560)     สมาชิกทุกคนในสังคมย่อมมีความสำคัญ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและชุมชนของตนเอง แต่จากรายงานประชากรช่วงอายุ 15-19 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ    ทางจราจรมากที่สุด ถึงแม้จะมีกฎหมายจราจรและเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในเบื้องต้น แต่ไม่สามารถดูแลให้ทั่วถึงได้ เช่นเดียวกันกับในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลา 15.00-18.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเดินทางกลับบ้านของนักเรียน การจราจรหนาแน่น โอกาสการเกิดอุบัติเหตุ จึงมีสูงมาก  ดังนั้นความเข้าใจในกฎจราจรจึงมีความสำคัญ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูกต้องตามกฎระเบียบวินัย เพื่อเสริมสร้างการขับขี่ด้วยความมีน้ำใจ ลดการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดกับเด็กและเยาวชนได้

หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดปัตตานี เล็งเห็นความสำคัญถึงการให้ความรู้เรื่องกฎจราจร  กับเยาวชนในพื้นที่ เป้าหมายหลักคือนักเรียนช่วงมัธยมศึกษา แต่การให้ความรู้เพื่อความปลอดภัยด้านการจราจรนั้น ย่อมมีความสำคัญในทุกๆ กลุ่มประชากร โดยเฉพาะนักเรียนระดับประถมศึกษา เพื่อเด็กๆ เหล่านี้ได้ทราบกฎจราจรในเบื้องต้น สามารถดูแลตนเองให้มีความปลอดภัยตลอดเส้นทางการเดินทางระหว่างที่พักถึงโรงเรียน รวมถึงช่วงเวลาอื่นๆ ดังนั้นจึงได้จัดโครงการขับขี่ปลอดภัย รู้วินัยการจราจร ประจำปี 2561 ขึ้น เป้าหมายในการอบรมครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5- มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎจราจรตามระเบียบกฎหมาย และการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง สามารถขยายผลไปยังเพื่อนนักเรียน ตลอดจนถึงผู้ปกครองในชุมชน ให้มีวินัยจราจรและสามารถขับขี่อย่างปลอดภัยแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประสานงานกับโรงเรียนเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการกลุ่มเป้าหมาย
และกำหนดวัน - เวลาเข้าดำเนินการ 4.2 ดำเนินงานเชิญวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียน ดังนี้ - วิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี - งานจราจรสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปัตตานี 4.3 ดำเนินงานตามโครงการ - ประเมินผลก่อนเข้าร่วมโครงการ - ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ - ประเมินผลหลังเข้าร่วมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานีทั้ง 5 โรงเรียน มีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและการใช้รถ  ใช้ถนนที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 8.2 นักเรียนตระหนักเรื่องความปลอดภัยจากการขับขี่รถจักรยาน โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การขับขี่รถจักรยาน ระหว่างการเดินทางไป – กลับโดยไม่มีการขับขี่จักรยานโลดโผน หรือไม่ปลอดภัย 8.3 นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลไปยังเพื่อนนักเรียน ตลอดจนถึงผู้ปกครอง ในชุมชนสามารถไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 11:50 น.