กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคติดตามโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กแรก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2489-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.571,101.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็กแรกเกิด - ๕ ปีที่มารับบริการเองตามนัดคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๗๓
กลุ่มเด็กแรกเกิด-๕ ปี ที่มารับบริการไม่ตามนัด คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๒๒ และกลุ่มไม่ยินยอมมารับบริการคิดเป็นร้อยละ ๕.๒๖ ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ส่งผลเด็กแรกเกิด - ๕ ปี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์อายุ และยังพบว่าผู้ปกครองบางรายยังไม่เห็นความสำคัญในการมารับบริการฉีดวัคซีนซึ่งอาจส่งผลต่อการรับแพร่เชื้อเกิดโรคระบาดจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ สำหรับพื้นที่ตำบลบาเระเหนือยังคงมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อและเกิดการระบาดได้หากมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าออกในพื้นที่ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือยังคงต้องมีนโยบายรณรงค์ให้ได้รับวัคซีนพื้นฐานและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ และผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กแรกเกิด - ๕ ปี มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความตระหนักในการพาบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีนเพราะฉะนั้นการระดมให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนตั้งแต่อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนากลุ่มแม่บ้าน และอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วม ในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ติดตาม แก่ผู้ปกครองเด็ก จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค และเป็นการป้องกันสุขภาพเด็กในพื้นที่ไม่ให้ติดเชื้อรวมถึงการลดโอกาสติดเชื้อจากภายนอกกลับเข้ามาระบาดได้ จากเหตุผลดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในรพ.สต.บาเระเหนือเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีน ๓.จัดทำทะเบียนเด็กอายุแรกเกิด - ๕ ปี แยกเป็นรายหมู่และกำหนดพื้นที่รับผิดชอบให้ชัดเจน ๔. จัดทำแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที ขั้นดำเนินการ ๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำระดับตำบลในการแก้ปัญหางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิด – ๕ ปี ๒.ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๓. ให้แกนนำและเครือข่ายติดตามค้นหาเด็กอายุแรกเกิด -๕ ปี ให้มารับวัคซีนทุกวันพุธของเดือน ๔. แจ้งแผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุกให้แก่แกนนำและเครือข่ายเพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปกครอง ๕.ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติการฉีดวัคซีนเชิงรุก ๖.เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ ระยะหลังดำเนินการ ติดตามความครอบคลุมวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กแรกเกิด -๕ ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ๙๕ ๒. ผู้ปกครองมีความตระหนักในการพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนตามอายุเกณฑ์ที่กำหนด ๓. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 15:49 น.