โครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 61-L5187-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น |
วันที่อนุมัติ | 15 สิงหาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 45,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายยอดชาย สมจิตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.826,100.783place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นภาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตะหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและอันตรายถึงชีวิต จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของตำบลสะพานไม้แก่น 5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ.2556-2560 พบว่า มีอัตรา 226.99,383.2,174.57,339.36 และ 68.48 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยา สสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และต้องลดลง 20 % ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มาก แม้ในปีล่าสุดอัตราป่วยจะลดลงมากก็ตาม ดังนั้น การดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคไข้เลือดออก คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรค หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบาก และสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดให้มีโครงการประชาร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลสะพานไม้แก่น มีความตะหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่นไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่น ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 1.ร้อยละของหมู่บ้านและชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 10 2. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และมัสยิด มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเป็น 0 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้เรื่องโรค และวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ชุมชนให้ความร่วมมือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีมากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
4 | ทีม SRRT มีความรู้และทักษะในการใช้/บำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควันและละอองฝอย ทีม SRRT มีความรู้และทักษะในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควันและละอองฝอย |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 ก.ย. 61 | กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 2,400.00 | ✔ | 2,400.00 | |
5 ก.ย. 61 | กิจกรรมอบรมฟื้นฟูศักยภาพทีม SRRT ตำบลสะพานไม้แก่น | 20 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
7 ก.ย. 61 | กิจกรรมพ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอย | 0 | 38,450.00 | ✔ | 38,450.00 | |
รวม | 20 | 45,250.00 | 3 | 45,250.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่นตัวแทน สสอ.จะนะ ผู้นำชุมชน ตัวแทนโรงเรียน แกนนำอสม.และผู้มีจิตอาสา โดยเสนอสถานการณ์ระบาดโรคไข้เลือดออกและระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหารวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ 4. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ
- ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุวป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
- ประชาชนเกิดความตะหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
- ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
- อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของตำบลสะพานไม้แก่นลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 15:35 น.