กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ชมรมผู้สูงอายุ สอน.นิคมพัฒนา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5296-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 17 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี นิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลในเขต 6 หมู่บ้านของตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีจำนวนผู้พิการ103คนโดยแยกเป็นผู้พิการในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน42คน คิดเป็นร้อยละ 40.78ของผู้พิการทั้งหมด และมีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 563 คน คิดเป็นร้อยละ 10.81 ของประชากรทั้งหมดในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ นิคมพัฒนา ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 5,207 คน และพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านสุขภาพโดยมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 0.29 โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 169คน คิดเป็นร้อยละ 3.24 และโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน จำนวน90 คน คิดเป็นร้อยละ 1.73 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกทั้งในกลุ่มเหล่านี้มีผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดเตียงจำนวน 35 ราย และกลุ่มผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย และช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อีก จำนวน 15 รายซึ่งเป็นภาวะที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่ากลุ่มปกติ เพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาว ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในชุมชนนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง มีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อต่อสู้และป้องกันการเจ็บป่วย การบำบัดรักษา การบรรเทาอาการเจ็บป่วย และการบริบาล ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และพัฒนาต่อ ๆ มาจนกับระบบที่มีแบบแผนชัดเจน เป็นภูมิปัญญาของสังคม ที่มาจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด การลองผิดลองถูก และกลายเป็นการยอมรับในสังคม ซึ่งมักใช้วิธีการหลายวิธี เพื่อให้ผลรักษาทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น การใช้ธรรมชาติบำบัด กายภาพบำบัด จิตบำบัด และการใช้ยา ดังนั้นภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย จึงเป็นกรรมวิธีที่ไม่มีทางสูญสิ้นไปอย่างแน่นอน มิใช่สิ่งเก่าใช้ไม่ได้ หรือพ้นสมัย แต่ยังเป็นนวัตกรรมทางความคิด และอิงธรรมชาติ วิถีชีวิตของเรา ที่ยังก้าวต่อไปในอนาคต ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุ สอ.เฉลิมพระเกียรติ ฯ นิคมพัฒนา เล็งเห็นถึงจุดแข็งของภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยสูงอายุและผู้พิการในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ สานต่อภูมิปัญญาและปรับประยุกต์มาใช้ในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ 2. เพื่อให้กลุ่มจิตอาสาดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ มีทักษะที่ถูกต้องในการดูแล ติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 3. เพื่อให้กลุ่มผู้พิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย และกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 4.เพื่อส่งเสริมการนำภูมิปัญญาไทย การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้านมาบูรณาการกับการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบัน

1.ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับขวัญและกำลังใจ โดยวัดจากคะแนนความพึงพอใจในการติดตามเยี่ยมบ้าน อยู่ในระดับดี ขึ้นไป

2.กลุ่มจิตอาสาดุแลผู้พิการและผู้สูงอายุ มีทักษะที่เหมาะสม ถูกต้อง ร้อยละ 90

3.กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนเยี่ยมบ้าน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 95

4.สามารถนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้รับการอบรมไปปรับใช้ได้ถูกต้อง ร้อยละ 95

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
28 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ 50 0.00 0.00
28 - 30 ส.ค. 61 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มจิตอาสา กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ 50 50,000.00 50,000.00
รวม 100 50,000.00 2 50,000.00

เป้าหมายดำเนินการ
- จิตอาสา  จำนวน ๓๐ คน - ญาติ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน ๒๐ คน - ผู้พิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จำนวน ๑๕ คน - ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง  จำนวน ๓๕ คน           รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ คน สถานที่ดำเนินการ - ห้องประชุมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ นิคมพัฒนา หมู่ที่ ๑,๒,๓,๗,๘ และ ๙ ตำบลนิคมพัฒนา งบประมาณ ๑. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๓ มื้อๆ ละ ๖๐ บาท จำนวน ๕๐ คน เป็นเงิน ๙,๐๐๐.- บาท ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๖ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คน เป็นเงิน ๗,๕๐๐.- บาท ๓. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ คน จำนวน ๖ ชม. ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๘๐๐.- บาท ๔. ค่าวัสดุสำหรับกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
    ๔.๑ แผ่นพลิกให้ความรู้ สอนสุขศึกษา จำนวน ๑ ชุด         - ป้ายพลิก (แบบพีพี) ขนาด ๕๐ ซม. X ๓๐ ซม. X ๑๕ หน้า x ๘๓ เป็นเงิน ๑,๒๔๕.- บาท     ๔.๒ ชุดทำกางเกงผ้าอ้อมสำหรับใส่แผ่นรองซับ         - ค่ากาว UHU ขนาด ๔๐ กรัม จำนวน ๓ แท่งๆ ละ ๙๕ บาท เป็นเงิน ๒๘๕.- บาท         - ค่าด้ายและเข็มเย็บผ้า จำนวน ๑๐ ชุดๆ ละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐.- บาท         - ค่าผ้าคอตทอนพิมพ์ลาย จำนวน ๑๐ หลาๆ ละ ๙๕ บาท เป็นเงิน ๙๕๐.- บาท         - ค่าแผ่นเมจิกเทป (ตีนตุ๊กแก) ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๕ หลาๆ ละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๗๕๐.- บาท               รวมเป็นเงิน ๒,๒๘๕.- บาท     ๔.๓ ชุดทำนาฬิกาพลิกตะแคงตัว         - นาฬิกาแขวนผนัง ขนาด ๑๖ นิ้ว จำนวน ๕ เรือนๆ ละ ๓๐๐ บาท  เป็นเงิน ๑,๕๐๐.- บาท         - ฟิวเจอร์บอร์ด หนา ๓ มม. ขนาด ๑๓๐ x ๒๔๕ ซม. X ๑๕๐ บาท จำนวน ๓ แผ่น เป็นเงิน ๔๕๐.- บาท       - ค่ากระดาษการ์ดสี ขนาด เอ๔ จำนวน ๑ รีมๆ ละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๐๐.- บาท       - ค่ากระดาษสติกเกอร์ใส ขนาด เอ๔ จำนวน ๒๐ แผ่นๆ ละ ๕ บาท  เป็นเงิน ๑๐๐.- บาท               รวมเป็นเงิน ๒,๒๕๐.- บาท     ๔.๔ ชุดทำถุงมือป้องกันการดึงสายให้อาหารทางจมูก
      - ค่าผ้าคอตทอน พิมพ์ลาย จำนวน ๕ หลาๆ ละ ๙๕ บาท เป็นเงิน ๔๗๕.- บาท       - ขวดน้ำเกลือ  เป็นเงิน – บาท                 รวมเป็นเงิน ๔๗๕.- บาท     ๔.๕ ชุดทำรอกน้อยจอมพลัง       - รอกเสาธง จำนวน ๕ ตัวๆ ละ ๔๐ บาท เป็นเงิน ๒๐๐.- บาท       - เชือกไนล่อนถัก ขนาด ๖ มม. ยาว ๓๐ เมตรๆ ละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐.- บาท       - ไม้ขนาด ๑ x ๖ นิ้ว จำนวน ๒ อันๆ ละ ๐ บาท เป็นเงิน – บาท       - ไม้ขนหนู ๕ ผืนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑๒๕.- บาท       - ลวดไม้แขวนเสื้อ ขนาดใหญ่ จำนวน ๕ เส้นๆ ละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๕๐ บาท                   รวมเป็นเงิน ๖๗๕.- บาท       ๔.๖ ชุดทำกะลายางยืด       - กะลาตัวผู้ จำนวน ๑๐ คู่  เป็นเงิน – บาท       - กระดาษทราย เบอร์ ๖๐ ขนาด ๑ เมตรๆ ละ ๙๕ บาท เป็นเงิน ๙๕ บาท       - กระดาษทราย เบอร์ ๑๕๐ ขนาด ๑ เมตรๆ ละ ๑๑๐ บาท เป็นเงิน ๑๑๐.- บาท       - กระดาษทราย เบอร์ ๓๒๐ ขนาด ๑ เมตรๆ ละ ๑๒๐ บาท  เป็นเงิน ๑๒๐.- บาท       - น้ำยาเคลือบเงา ขนาด ๑ ลิตร จำนวน ๑ ขวดๆ ละ ๒๗๐ บาท เป็นเงิน ๒๗๐.- บาท       - หนังยางวงใหญ่ จำนวน ๕ กก. ๆ ละ ๑๕๐ บาท  เป็นเงิน ๗๕๐.- บาท                   รวมเป็นเงิน ๑,๓๔๕.- บาท                 รวมค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน ๘,๒๗๕.- บาท ๕. ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม     ๕.๑ แฟ้มเอกสารมีลาย ขนาด เอ๔ จำนวน ๕๐ ชุดๆ ละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๑,๗๕๐.- บาท     ๕.๒ ปากกา จำนวน ๕๐ ด้ามๆ ละ ๓.๕ บาท เป็นเงิน ๑๗๕.- บาท                   รวมเป็นเงิน ๑,๙๒๕.- บาท ๖. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตยาสมุนไพร     ๖.๑ ลูกประคบ       - ขมิ้น ๒ กก. X ๑๖๐ บาท          เป็นเงิน ๓๒๐.- บาท       - ไพล ๒ กก. X ๑๒๕ บาท          เป็นเงิน ๒๕๐.- บาท       - ตะไคร้ ๑.๕ กก. X ๑๓๐ บาท        เป็นเงิน ๑๙๕.- บาท       - ผิวมะกรูด ๑.๕ กก. X ๑๔๐ บาท      เป็นเงิน ๒๑๐.- บาท       - ใบมะขาม ๑.๕ กก. x ๑๔๐ บาท      เป็นเงิน ๒๑๐.- บาท       - ผ้าดิบ ๑๓ กก. X ๓๐ บาท          เป็นเงิน ๓๙๐.- บาท       - เชือก ๑ กก. X ๑๒๐ บาท          เป็นเงิน ๑๒๐.- บาท       - พิมเสน ๐.๕ กก. x ๕๕๐ บาท        เป็นเงิน ๒๗๕.- บาท       - การบูร ๑ กก. X ๒๕๐ บาท          เป็นเงิน ๒๕๐.- บาท                           รวมเป็นเงิน ๒,๒๒๐.- บาท     ๖.๒ น้ำมันไพล       - น้ำมันมะพร้าว ๑ กก. X ๔๘๐ บาท      เป็นเงิน ๔๘๐.- บาท       - ไพล ๒ กก. X ๑๒๕ บาท            เป็นเงิน ๒๕๐.- บาท       - น้ำมันยูคาลิปตัส ๐.๕ ปอนด์ x ๓๕๐ บาท  เป็นเงิน ๑๗๕.- บาท       - กานพลู ๐.๓ กก. x ๘๐๐ บาท        เป็นเงิน ๒๔๐.- บาท       - น้ำมันระกำ ๓ ปอนด์ x ๑๕๐ บาท      เป็นเงิน ๔๕๐.- บาท       - ขวดใส ๕๐ ใบ x ๔ บาท            เป็นเงิน ๒๐๐.- บาท       - เมนทอล ๐.๓ กก. x ๒,๐๐๐ บาท        เป็นเงิน ๖๐๐.- บาท       - พิมเสน ๐.๒ x ๕๕๐ บาท            เป็นเงิน ๑๑๐.- บาท       - การบูร ๐.๒ x ๒๕๐ บาท            เป็นเงิน ๕๐ บาท                           รวมเป็นเงิน ๒,๕๕๕.- บาท     ๖.๓ สบู่สมุนไพร       - กลีเซอรีน ๑๕ กก. X ๑๗๐ บาท        เป็นเงิน ๒,๕๕๐.- บาท       - น้ำผึ้ง ๑ ขวด x ๕๕๐ บาท          เป็นเงิน ๕๕๐.- บาท       - พิมพ์สบู่ซิลิโคน ขนาด ๑๐๐ กรัม จำนวน ๕ ชิ้นๆ ละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐.- บาท       - หัวน้ำหอมกลิ่นมะกรูด ๒ ออนซ์ๆ ละ ๘๐ บาท เป็นเงิน ๑๖๐.- บาท       - หัวน้ำหอมกลิ่นมะลิ ๒ ออนซ์ๆ ละ ๓๐ บาท  เป็นเงิน ๖๐.- บาท       - ขมิ้นผง ๑๐ ซองๆ ละ ๕ บาท          เป็นเงิน ๕๐.- บาท       - นมสด ๑ ขวดๆ ละ ๑๐๐ บาท          เป็นเงิน ๑๐๐.- บาท       - กากกาแฟ ๑ ถุงๆ ละ ๑๐๐ บาท        เป็นเงิน ๑๐๐.- บาท       - กล่องกระดาษพร้อมฉลากสติกเกอร์ ๑๐๐ ใบๆ ละ ๑๑ บาท เป็นเงิน ๑,๑๐๐.- บาท                           รวมเป็นเงิน ๕,๖๗๐.- บาท       ๖.๔ ยาหม่องสมุนไพร       - ชุดยาหม่อง ๑ ชุดๆ ละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๘๐๐.- บาท       - ไพลสด ๐.๕ กก.ๆ ละ ๑๘๐ บาท เป็นเงิน ๙๐.- บาท       - เสลดพังพอนแห้ง ๐.๕ กก.ๆ ละ ๙๐ บาท เป็นเงิน ๔๕.- บาท       - น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ๑ กก.ๆ ละ ๕๒๐ บาท เป็นเงิน ๕๒๐.- บาท       - ขวดยาหม่องฝาทอง ๑๐๐ ใบๆ ละ ๒.๗ บาท เป็นเงิน ๒๗๐.- บาท       - เอทิลแอลกอฮอล์ ๑ ลิตรๆ ละ ๑๘๐ บาท เป็นเงิน ๑๘๐.- บาท       - ฉลากสติกเกอร์ ๑๐๐ ชิ้นๆ ละ ๑.๕ บาท เป็นเงิน ๑๕๐.- บาท                           รวมเป็นเงิน ๒,๐๕๕.- บาท           รวมค่าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตยาสมุนไพร เป็นเงิน ๑๒,๕๐๐.- บาท           รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๕๐,๐๐๐.- บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพในการเยี่ยมบ้านดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ
มีโรคประจำตัว ช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรือไม่ได้เลย หรือถูกทอดทิ้ง โดยได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้าน ได้รับการช่วยเหลือตามความต้องการ ด้วยกระบวนการการดูแลแผนปัจจุบันควบคู่กับการแพทย์แผนไทย
ซึ่งสามารถนำไปสู่กระบวนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและนำไปสู่รูปแบบการดูแลสุขภาพเฉพาะในชุมชนหรือนวัตกรรมต่อไปได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2561 00:00 น.