กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการงานสุขภาพจิตและจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนตำบลบาเระเหนือ ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2489-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.571,101.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยภาวะการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองล้วนมีผลต่อภาวะจิตใจของประชาชนผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะดังกล่าวได้จะเกิดความเครียดเพิ่มสูงขึ้น และอาจรุนแรงถึงขั้นมีภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจได้การเจ็บป่วยทางจิตเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ถึงแม้ปัญหาสุขภาพจิตจะส่งผลต่ออัตราการตายค่อนข้างต่ำและไม่ทำให้สูญเสียถึงแก่ชีวิต แต่เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพจิตขึ้นกับประชาชนทั่วไปอาทิเช่น อาละวาด ทำร้ายผู้คน ฯลฯ จะพบความเสี่ยงต่อชีวิตความทุกข์ทรมาน และมีผลกระทบที่ชัดเจนต่อครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลสุขภาพตำบลบาเระเหนือมีผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการ จำนวน ๒๖ คน ผู้ป่วยซึมเศร้า ๓๘ คน จากการดำเนินงานจิตเวชพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาบางรายได้รับยาไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอบางครั้งจะมีอาการกำเริบและเรื้อรัง สาเหตุหลักคือความยากจน ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ทำให้ไม่อาจไปรับยาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำงานหนักและการกินยาทำให้ตัวแข็ง น้ำลายไหล จึงเป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่ยอมกินยาอีกทั้งญาติผู้ดูแลและชุมชนยังไม่ยอมรับผู้ป่วยจิตเวชทำให้เกิดการทอดทิ้งผู้ป่วยตามลำพังและมักจะกำเริบได้ตลอดเวลาเช่น การตะโกนอาละวาด ทำร้ายข้าวของ และทำร้ายคน โดยผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ขาดยา โรคจิตจากการใช้สารเสพติดและเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด นับว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงที่จำเป็นต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนซึ่งน่าจะป้องกันได้หากมีการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นจากทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิกร่วมกับเครือข่ายในชุมชนได้แก่แกนนำอสม. แกนนำชุมชนอบต. ฯลฯ แต่ในการปฏิบัติงานปัจจุบันนั้นเป็นการให้บริการโดยพยาบาลจิตเวชผู้ป่วยจิตเวชต้องไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่ายคือ รพ.บาเจาะและ รพ.จิตเวชสงขลา ซึ่งต้องจัดหายานพาหนะและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและผู้ดูแล ส่งผลให้ผู้ป่วยบางคนไม่ไปรับยาไม่ต่อเนื่องและมีการส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจรักษาจากจิตแพทย์เป็นจำนวนมากโดยในปี ๒๕๕๙ มีการส่งต่อเพื่อไป รพ.จิตเวชสงขลา จำนวน๒ ราย งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือจึง เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการงานสุขภาพจิตและจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนตำบลบาเระเหนือนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการตรวจรักษาและพบจิตแพทย์ตามนัด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในรพ.สต.บาเระเหนือเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช ๓.ประสานญาติผู้แลและทีมเครือข่ายเข้าร่วมโครงการ

ขั้นดำเนินการ ๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำระดับตำบลในการแก้ปัญหางานสุขภาพจิตในชุมชน ตำบลบาเระเหนือ ๒. ประเมินความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๓. ประชุมเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานสุขภาพจิตเพื่อชี้แจงโครงการและเตรียมการดำเนินงาน ๔. ประสานแม่ข่าย รพ.บาเจาะ เพื่อขอรับการตรวจรักษาผู้ป่วย ๕. ประสานเครือข่ายระดับตำบล อบต.เพื่อขอรับการสนับสนุนรถนำส่งผู้ป่วยจิตเวชมา รพ. ดำเนินงานตามโครงการ ๖.เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ

ระยะหลังดำเนินการ ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช สามารถเข้าถึงบริการ ได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ๒.ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและครอบครัวผู้ป่วย ๓.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ๔.ภาคีเครือข่ายในชุมชนและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้งตามลำพัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2560 16:09 น.