กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 61 – L7452 -2- 12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 30 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 33,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮอง จันทร์อุย ประธานชมรมกายบริหารโยคะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมาโนชญ์ บุญญานุวัตร ที่ปรึกษาชมรมกายบริหารโยคะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ คิดเป็น 9,662.07, 24,702.52, 809.14, 1,261.30 และ 333.17 ต่อแสนประชากร
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุจากการฉายภาพประชากรของสหประชาชาติ ประเทศในประชาคมอาเซียนและประเทศไทย จะเข้าสู่สังคมสูงวัยทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” (Aged society) มาตั้งแต่ปี 2548 จากนั้นประเทศไทยจะใช้เวลา 16 ปี ก่อนจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) ในราวปี 2564 และจะใช้เวลาอีกเพียง 10 ปี ก็จะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) ประมาณปี 2574 เมื่อคนไทยอายุยืนยาวขึ้นค่าใช้จ่ายของรัฐและครอบครัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นสำคัญ รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งวางนโยบายและหามาตรการต่างๆ เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสารความรู้ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือ/กลไก/เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี     สำหรับในพื้นที่เทศบาลนครยะลา ประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป ในปี 2560 มีจำนวน 8,785 คน คิดเป็นร้อยละ 14.43 มีการเจ็บป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจ คิดเป็น 9,662.07, 24,702.52, 809.14, 1,261.30 และ 333.17 ต่อแสนประชากรตามลำดับ เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนในกลุ่มวัยนี้ ให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุ เป็นเครื่องมือการรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัย สอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0) ของรัฐบาล     จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง 

80.00
2 ข้อที่ 2 ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ข้อที่ 3 ผู้สูงอายุผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,950.00 0 0.00
20 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน 0 250.00 -
25 - 26 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน 0 33,700.00 -
  1. ประชุมวางแผนการจัดทำโครงการ ประสานงานภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน
  5. สรุปผลการดำเนินงาน
  6. นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา \
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุสามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรม ดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี สร้างภูมิคุ้มกัน ปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านจากข้อมูลข่าวสาร และความรู้
  2. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูแลสุขภาพตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2561 14:06 น.