โครงการฟันดี...สุขภาพดี
ชื่อโครงการ | โครงการฟันดี...สุขภาพดี |
รหัสโครงการ | 60-L5205-3-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านต้นปริง |
วันที่อนุมัติ | 16 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2559 - 15 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,860.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางลักขณา เสริมสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางดวงใจ อ่อนแก้ว |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.924,100.591place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 176 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากผลการตรวจสภาวะช่องปากนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านต้นปริงพบว่า นักเรียนมีฟันผุ ร้อยละ18.03 ต้องการ การรักษาเร่งด่วน ร้อยละ 9.09 มีหินน้ำลายร้อยละ-( เกิน ร้อยละ 10 เป็นระดับที่มีปัญหา ) เมื่อมีการตรวจประสิทธิภาพการแปรงฟัน พบว่านักเรียนแปรงฟันสะอาด ร้อยละ 80ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาที่ทางทันตสุขภาพ ช่องปากเป็นประตูสำคัญของสุขภาพ สุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยเด็ก การเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กวัยประถมศึกษา สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้สังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตนโดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชน จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่จะใช้ในการรณรงค์และกระตุ้นความสนใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2560 โรงเรียนบ้านต้นปริงร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอนาหม่อมจึงจัดกิจกรรม “ฟันดีสุขภาพดี” ขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร และกิจกรรมที่จัดขึ้นเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับลักษณะปัญหาหรือศักยภาพเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของแต่ละพื้นที่ เพื่อทันตสุขภาพและสุขภาพโดยรวมที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียน ครู, ชุมชน , ผู้ปกครอง มีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนครู, ชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ90มีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ |
||
2 | เพื่อให้นักเรียน ครู, ชุมชน , ผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก นักเรียนครู, ชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ90นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก |
||
3 | เพื่อให้นักเรียนมีสภาวะสุขภาพปากช่องปากดีที่ขึ้น นักเรียน ร้อยละ80นักเรียนมีสภาวะสุขภาพปากช่องปากดีที่ขึ้น |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ
1.ขั้นเตรียมงานวางแผน (plan)
1.1วิเคราะห์ศึกษาปัญหาจากการดำเนินงานโครงการจากปีที่ผ่านมา
1.2เสนอโครงการ
1.3แต่งตั้งคณะทำงานและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.ขั้นดำเนินการ (do)
2.1จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ“ Walk Rally”เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
- อาหารกับสุขภาพ
- แปรงฟัน ถูกวิธี /รู้ทันโรคในช่องปาก/ตรวจฟันเองได้ ง่ายนิดเดียว
- ยาเสพติด
- ห่างไกลโรคภัยใกล้ตัว
2.2จัดกิจกรรมการประกวดและนำเสนอผลงานนักเรียน
- ประกวดครอบครัวฟันดี
- ประกวดการแปรงฟัน
- ประกวดผลงานนักเรียนด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ
- ประกวดผลงานนักเรียน บอร์ดความรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ
2.3.จัดกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟัน ปีการศึกษา ละ 2 ครั้ง
3. ขั้นตรวจสอบทบทวน กำกับติดตาม (check)
3.1ประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ
3.2ประเมินระดับความพึงพอใจของบุคลากรและนักเรียนต่อโครงการ
4. ขั้นสรุปผลและรายงานผล (action)
4.1สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
- นักเรียน ครู, ชุมชน, ผู้ปกครองมีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
- นักเรียน ครู, ชุมชน , ผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก
- ครู, ชุมชน , ผู้ปกครอง และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพของนักเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2560 11:06 น.