กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์กับคนในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน
วันที่อนุมัติ 9 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาแลห๊ะ การี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.75,101.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชนตำบลถนน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนโลก ( Grobal fund ) ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อบรมความรู้เกี่ยวกับปัญหาเอดส์ให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน การรณรงค์สร้างกระแส การจัดทำแผนเอดส์เข้าสู่หน่วยงาน อปท. และได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยดีตลอดมา ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา เราพบว่ามีสถิติผู้ติดเชื้อในปี 2556 – 2561 ระดับ อำเภอมายอ 40  ราย ซึ่งเกิดจาการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและ  ยาเสพติดและมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ของชุมชนเป็นพื้นที่สะดวกต่อการเดินทางและมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การติดเชื้อ HIV ได้
ในระยะเวลาปี 2556 –2561 ที่ผ่านมาศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิในชุมชนตำบลถนนได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมซึ่งมีกิจกรรมประกอบด้วย การประชุมคณะกรรมการ / การสัมมนาผู้นำกับการแก้ไขปัญหาเอดส์ / เสริมสร้างทักษะชีวิตและสร้างคุณค่าแก่เยาวชน / เสริมสร้างองค์ความรู้สู่เยาวชน และการติดตามประเมินผล ซึ่งผลจากการดำเนินกิจกรรมเราได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เป็นอย่างดี และผู้เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้และมองเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนมากขึ้นอีกทั้งยังทำให้กลุ่มอสม.เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นและยังมีทักษะในการใช้ชีวิตจากหลาย ๆ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้ กลุ่มอสม.

หลังจากศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชนตำบลถนน ได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้วนั้นยังเล็งเห็นถึงบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งมีบทบาทและมีความสำคัญกับครอบครัวและชุมชนในการช่วยกันป้องกัน ดูแลเรื่องต่างๆในชุมชน ที่เกิดขึ้นนั่นคือ กลุ่มคนในชุมชน เพราะกลุ่มคนในชุมชน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อชุมชนเป็นกลุ่มต้องมีความรู้ใหม่ๆเพื่อที่จะสื่อสารกับคนในชุมขนได้ กลุ่มคนในชุมชนก็จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ในเรื้องโรคเอดส์ ไว้เพื่อป้องกันตัวเองครอบครัวและคนในชุมชนและสามารถไปเผยแพร่กับคนในชุมชนได้       ดังนั้นทางศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชนตำบลถนน จึ่งได้เกิดแนวคิดในเรื่องการเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่กลุ่มคนในชุมชนโดยให้ เพื่อที่จะได้มีองค์ความรู้ในเรื่องโรคเอดส์ และนำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถไปเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชนได้รับทราบและจะได้ร่วมกันป้องเพื่อที่จะลดผู้ติดเชื่อรายใหม่และลดการตีตราในชุมชนจากโรคเอดส์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานทีมคณะทำงาน
  2. ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดและทำความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินการตามโครงการ
  3. วางแผนการดำเนินงาน
  4. สรุปรายงานการประชุมคณะทำงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มคนในชุมชน มีองค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์และสามารถนำไปเผยแพร่ได้
    1. กลุ่มคนในชุมชนมีความรู้เกิดทัศนคติที่เปิดกว้างในเรื่องเอดส์ลดผู้ติดเชื่อรายใหม่และการตีตรา
    2. กลุ่มคนในชุมชนไม่ผู้ติดชื้อ HIV อีกต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2561 09:47 น.