กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ”
ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง

ที่อยู่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L7580-3-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L7580-3-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 22 กุมภาพันธ์ 2560 - 22 กุมภาพันธ์ 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 15,705.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในแต่ละปีไทยมีเด็กเกิดใหม่กว่า ๗ แสนคน ทำให้มีเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี เกือบ ๔ ล้านคน จำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กอายุระหว่าง ๒ ปี ถึง ๓ ปีร่วมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันทำให้สภาพครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กต้องทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานตนเองในช่วงเวลากลางวัน เด็กกลุ่มนี้จึงถูกนำไปฝากเลี้ยงในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก และมีมากกว่า ๑๙,๐๐๐ แห่ง ผลที่ตามมาคือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจึงเป็นสถานที่เด็กจำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน เมื่อเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ ซึ่งการเจ็บป่วยหรือโรคติดต่อนี้ก็จะแพร่กระจายไปสู่เด็กคนอื่นๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เด็กต้องหยุดเรียนจำนวนมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน หรือแม้กระทั่งปิดโรงเรียนชั่วคราว เพื่อทำความสะอาดและเพื่อลดปัจจัยที่จะนำไปสู่การระบาดมากยิ่งขึ้น เช่น การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นในด้านการจัดการศึกษา ในเด็กปฐมวัย ที่มีช่วงอายุ ๒-๕ ปี และด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีการพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง จึงได้มีกิจกรรมดำเนินการเตรียมความพร้อมของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยการตรวจคัดกรอง และป้องกันโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยนี้ได้แก่ โรคหวัด โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก และยังดำเนินการตรวจประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ และตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าว ยังพบว่าเด็กปฐมวัยมีฟันผุเพิ่มขึ้น ยังพบอีกว่ามีโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยนี้เกิดขึ้นซ้ำและซ้ำอีก ส่วนในด้านพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเรื่องสุขภาพเด็กปฐวัย หากเด็กปฐมวัยได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเพียงพอ นอกจากจะทำให้ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาทางด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยแล้ว ยังอาจมีส่วนยับยั้ง หรือแก้ไขความผิดปกติทางด้านร่างกายของเด็ก ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุงขึ้น โดยจัดให้มีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้และเพิ่มทักษะแก่เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองเรื่องการดูแลสุขภาพในเด็กช่วงปฐมวัยอย่างถูกต้อง และสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการเฝ้าระวังสุขภาพบุตรหลานของตนเอง อนึ่งการจัดทำโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีการพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่อง การแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 51
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ
    2. ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง 3.ลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. 1.ผู้ปกครองทำแบบทดสอบก่อนอบรม 2.ผู้ปกครองทำกิจกรรมตามฐาน 3.ผู้ปกครองสรุปผลที่ได้รับ 4.ผู้ปกครองทำแบบทดสอบหลังอบรม/มอบของรางวัล

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จาการทำแบบทดสอบหลังการอบรมปรากฎว่าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัยในเรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อดีขึ้น
    2.ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
    3.ระยะเวลา 1 เดือน หลังการเข้ารับการอบรมโครงการส่งเสริมสุขขอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ไม่มีโรคติดเต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการดูแลรักษาเบื้องต้นได้ถูกต้อง

     

    51 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1.จาการทำแบบทดสอบหลังการอบรมปรากฎว่าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัยในเรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อดีขึ้น 2.ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
    3.ระยะเวลา 1 เดือน หลังการเข้ารับการอบรมโครงการส่งเสริมสุขขอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ไม่มีโรคติดเต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการดูแลรักษาเบื้องต้นได้ถูกต้อง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่อง การแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ

     

    2 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง

     

    3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    ตัวชี้วัด : ลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 51
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 51
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่อง การแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ (2) เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง (3) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L7580-3-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด