กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม รพ.สต.บ้านควน 2
รหัสโครงการ 60-L5307-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.691,100.049place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่าง ๔๕ – ๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ปี ประมาณร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด ๕ ปีจะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,๒๕๕๐) ซึ่งจะเห็นว่าการป้องกันและควบคุมโรคตั้งแต่เริ่มต้นจึงมีความสำคัญ โดยการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งจะสามารถรักษาให้หายได้ และจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษา พบว่า การคัดกรองด้วยการทำ Pap smear และ VIA ในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนพบว่า ในปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๔๔๙ คน ได้รับการตรวจ ๒๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๒๕ ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน๒คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๗๐และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมี ๕๖๔ คน ได้รับการตรวจ ๕๐๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๒๔ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ๐.๓๙ และผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๕๐๗ คน ได้รับการตรวจ ๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๙๗ ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน ๖คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๔๐และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมี ๕๗๐ คน ได้รับการตรวจ ๕๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๗๐ตรวจพบความผิดปกติ จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ๐.๓๘ซึ่งจะเห็นว่าสตรีวัยเจริญพันธ์ในกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกยังมีจำนวนน้อย ทั้งนี้เนื่องมาจากประชาชน ยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ อีกทั้งอาจเข้าใจว่า โรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคนเพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีวัยเจริญพันธุ์ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและสามารถพบผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อนเป็นโรคมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ขึ้นโดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายสตรีที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมารับการตรวจเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งสนองนโยบายรัฐบาลให้สตรีไทยได้รับการตรวจเฝ้าระวังและดูแลตนเองได้เพื่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้สตรีในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ – ๗๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

๑.ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมก่อนและหลังการอบรม เกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

2 ๒.เพื่อให้สตรีในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น

๒.จำนวนผู้รับบริการได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๙

3 ๓.เพื่อให้สตรีในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ – ๗๐ ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

๓. จำนวนผู้รับบริการที่พบความผิดปกติในระยะแรกได้รับการส่งต่อและรักษา

4 ๔.เพื่อให้สตรีในกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ – ๗๐ ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ และรับการรักษาได้ทันเวลา

๓. จำนวนผู้รับบริการที่พบความผิดปกติในระยะแรกได้รับการส่งต่อและรักษา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินการ ขั้นเตรียมการ ๑.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านควน ๒.ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านควน, อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓.สำรวจรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปี ๒๕๕๘ และ ปี ๒๕๕๙ ๔. ประมาณการใช้ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือโดยคำนวณจากเป้าหมายประชากร และจัดหา จัดเตรียม

ขั้นดำเนินการ ๑. จัดทำทะเบียนสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๒. จัดทำทะเบียนสตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี ที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ๓. จัดรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เน้นการป้องกัน เฝ้าระวัง แก่กลุ่มเป้าหมาย ๔. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อรับการอบรมให้ความรู้และรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๕. จัดอบรมสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมาเข้ารับการตรวจเพิ่มมากขึ้น ๖. ออกรณรงค์ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในพื้นที่ โดย อสม.และเจ้าหน้าที่ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ๗. เปิดบริการรับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในสถานบริการ เดือนละ ๓ ครั้ง (วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ ๒,๓,๔ ชองเดือน) ๘. ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีที่เข้ารับการตรวจทุกคน ๙. ติดตามและแจ้งผลการตรวจแก่ผู้เข้ารับการตรวจทุกคน ในคนที่ตรวจพบความผิด ส่งต่อพบแพทย์ที่โรงพยาบาลสตูลเพื่อรับการตรวจรักษา ๑๐. บันทึกกิจกรรมสรุปผลการปฏิบัติงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านมและเข้ารับการตรวจเพิ่มมากขึ้น ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูก , มะเร็งเต้านม
๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ และได้รับการรักษาทุกราย ๔. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ๕. สามารถลดอัตราการป่วยของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2560 14:36 น.