กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รหัสโครงการ 61-L3332-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกรียงไกร ไชยวรรณ/ผอ.รพ.สต.บ้านนาปะขอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ซึ่งมีเขตรับผิดชอบ จำนวน ๕ หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ ๒ บ้านพน หมู่ที่ ๔ บ้านนาปะขอหมู่ที่ ๕ บ้านช่างทอง หมู่ที่ ๗ บ้านวัดโตนด และหมู่ที่ ๑๒ บ้านทุ่งเศรษฐี ซึ่งทั้ง ๕ หมู่บ้านประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตรมากถึงร้อยละ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำสวนผลไม้และปลูกผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่และจากการตรวจเลือดเกษตรกรปี๒๕๖๐ พบว่า เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพได้รับการตรวจคัดกรอง อยู่ในเกณฑ์ ไม่ปลอดภัย1๔.๐๓ % (๕๔ คน)มีความเสี่ยง ๔๙.๐๙ %(๑๘๙ คน) ปลอดภัย ๒๙.๓๕ %(๑๑๓ คน)และอยู่ในเกณฑ์ระดับปกติ ๗.๕๓ %(๒๙ คน) (จำนวนผู้เข้ารับการเจาะเลือด จำนวน ๓๘๕ คน)
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรมีระดับความไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงส่งผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรงดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภคได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
2 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,400.00 0 0.00
22 ส.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้และเจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 0 52,400.00 -

๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติและการดำเนินงานตามโครงการ ๒. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ ในการตรวจ ๓. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ๔. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ๕. ดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูก /บริโภคผักปลอดสารพิษ ๖. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ๗. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างและได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ ๒. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2561 14:17 น.