กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจรักสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนที่เรารัก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนน่าอยู่บ้านมะดือลง
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเล๊าะ แยกาจิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านมะดือลง ม.2 ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีจำนวนครัวเรือน 505 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมดจำนวน 1,625 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 797 คน หญิง จำนวน 840 คน มีจุดเป็น หรือแหล่งที่เป็นปัญหาขยะ จำนวน 6 จุด/แหล่ง มีปริมาณจำนวนขยะในครัวเรือน ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อครัวเรือน/เดือน และรวมภายในชุมชน ประมาณ 75,750 กิโลกรัม/เดือน และถ้านับรวมระยะเวลา 1 ปี ครัวเรือนมีจำนวนขยะ 1,800 กิโลกรัม/ครัวเรือน/เดือน ชุมชนมีจำนวนขยะ 10,908,000 กิโลกรัม/ปี และสาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ การที่ประชาชนยังมีความตระหนักเป็นส่วนย่อยในการที่จะร่วมจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนและส่วนรวม อีกทั้งยังขาดนวัตกรรมที่กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความรักในชุมชนตนเอง คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน   ในช่วงปีที่ผ่านมาก ชุมชนมะดือลงได้ดำเนินการในเรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมไปอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การสร้างกลไกของชุมชน (สภาผู้นำชุมชน) ในการจัดการชุมชนเอง, คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ, รณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมปรับภูมิทัศน์, จัดตั้งจุดคัดแยกประจำหมู่บ้าน และกำหนด กฎกติการชุมชนแต่ยังขาด ในส่วนดำเนินการ เรื่องการสร้างนวัตกรรม ที่จะทำในการเคลื่อนกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ให้ความต่อเนื่องยั่งยืน จึงได้เสนอโครงการ ชาวมะดือลงร่วมใจรักสิ่งแวดล้อม ต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโกตาบารู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,800.00 0 0.00
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมสร้างความตระหนักถึงโทษและผลกระทบของปัญหาขยะ 0 17,100.00 -
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 เวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการขยะด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้นวัตกรรมชุมชน 0 23,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในบ้านมะดือลง มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ทั้งการรักษาความสะอาดของหมู่บ้านและสิ่งสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561 10:48 น.