กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะในครัวเรือน
รหัสโครงการ 2561/L7886/2/10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านนา
วันที่อนุมัติ 14 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัชดา โกบปุเลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ย. 2561 28 ก.ย. 2561 17,600.00
รวมงบประมาณ 17,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในตำบลเจ๊ะบิลัง สืบเนื่องมาจากปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย โดยปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลเจ๊ะบิลัง ประมาณ 26-28 ตัน/เดือน มีขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ คือ ขยะมูลฝอยทั่วไป,ขยะอินทรีย์, ขยะรีไซเคิล, ขยะอันตราย,ขยะอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม เช่น กลิ่นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค ถึงแม้ว่าหน่วยงานของภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบต้องรับภาระในการจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ฝังกลบ การใช้เตาเผา กองทิ้งไว้กลางแจ้ง ซึ่งก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืน ซึ่งแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย ต้องมีการจัดการจากแหล่งกำเนิด เช่น จากครัวเรือน ชุมชน และตลาดสด เป็นต้น โดยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือนเป็นการกำจัดขยะจาก ต้นทางที่สำคัญ เพื่อนำขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกไปใช้ประโยชน์ ร่วมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีตลอดจนเป็นจุดเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ภายในเขตพื้นที่
      ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนตำบลเจ๊ะบิลัง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น รบกวน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนดูแล จัดการกับปัญหาขยะที่เกิดจากครัวเรือนได้อีกด้วย ดำเนินกิจกรรมลดขยะอินทรีย์ เพื่อสุขภาพของคนในชุมชน ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกต้องเริ่มที่ครัวเรือนก่อน แก้ไขปัญหาขยะเปียกในครัวเรือน เพื่อให้ลดขยะต้นทางอันเป็นต้นเหตุของการ เพิ่มปริมาณของขยะเปียกที่มาจากครัวเรือนเป็นอันดับแรก และขยายผลไปสู่ชุมชนหมู่บ้าน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเพิ่มความรู้ แนวทางการกำจัดขยะ ต้นทางอย่างถูกวิธี ของผู้เข้าร่วมอบรม
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
1.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน และเพิ่มต้นแบบครัวเรือนการกำจัดขยะในครัวเรือน
  1. มีครัวเรือนต้นแบบเพิ่มขึ้น และมีการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง
1.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อเพิ่มหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ
  1. จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง (แห่ง)
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,600.00 2 17,600.00
28 ส.ค. 61 ฝึกอบรมและสาธิตการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะในครัวเรือน 0 17,600.00 17,600.00
20 ก.ย. 61 กิจกรรมภาคสนาม โดยการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือนต้นแบบ 0 0.00 0.00

1.ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ประสานเจ้าหน้าที/ประชาชน/อสม.
  2.ขออนุมัติจัดทำโครงการ
  3.ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย และรับสมัคร ครัวเรือนต้นแบบ เพื่อเข้าร่วมโครงการ   4.จัดกิจกรรมโครงการตามที่กำหนด
    4.1 อบรมโครงการส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะในครัวเรือน
    4.2 กิจกรรมภาคสนาม โดยการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือนต้นแบบ
  5. ติดตามและประเมินผล โดยสังเกตจากการทำกิจกรรม   6. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและแยกประเภทขยะได้อย่างถูกต้อง
  2. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และชุมชนหมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ
  3. สามารถป้องกันโรคติดต่อในชุมชน หมู่บ้าน ลดลง ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง
  4. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561 12:12 น.