กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้และคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปี 2562
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 78,843.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรภรณ์ เกตุแสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3866 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการจัดลำดับความสำคัญปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาอันดับ ๑และโรคเบาหวานเป็นปัญหา ระดับ ๓ ของศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ จากสถิติการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปี ๒๕๖๐-๒๕๖๑ พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน ๒,๖๒๙,๓๐๓๖ คน (ร้อยละ ๗๗.๓๙, ๙๑.๔๒ ) เป็นกลุ่มเสี่ยง๔๘๙,๕๗๐ คน( ร้อยละ๑๘.๖๐,๑๘.๗๗) โรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒,๐๙๖,๒,๓๗๗ คน (ร้อยละ๘๐.๗๔,๘๙.๙๔)เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๑,๐๘๓,๑๐๖๑ คน (ร้อยละ ๕๑.๙๕,๔๔.๖๔) จากปัญหาดังกล่าวศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำจึงได้จัดทำโครงการค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตในชุมชน ศพช.ท่ามิหรำรพ.พัทลุงปี ๒๕๖๒ เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อันจะนำไปสู่การเกิดโรคในอนาคตโรคพวกนี้เป็นปัญหาเรื้อรังและสูญเสียงบประมาณในการดูแลการค้นหาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานกลุ่มปกติให้คำแนะนำสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและติดตามคัดกรอง ๑ ครั้ง/ปีกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคโดยการเฝ้าระวังติดตามประเมินผลตามเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน(Pre-diabetic) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง(Pre hypertension)ควรได้รับการประเมินและให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพติดตามตรวจรักษาจากแพทย์ ส่งผลให้ประชาชนในเขตบริการประชาชนได้รับการคัดกรองโรคและได้รับการรักษาทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพกลุ่มเป้าหมยตามแนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของสำนักโรคไม่ติดต่อ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรค Metabolic ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อยร้อยละ 60

60.00
3 กลุ่มเสี่ยงที่น่าสงสัยเป็นโรค ได้รับการส่งต่อและรักษาตามแผนการดูแล

กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นโรค ได้รับการส่งต่อและรักษา ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ต.ค. 61 ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน 0 44,743.00 44,075.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละชุมชน - จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง - ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. 0 34,100.00 32,180.00
รวม 0 78,843.00 2 76,255.00

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายและประสานงานกับผู้นำชุมชน อสม.

2.จัดเตรียมเอกสาร แผ่นพับ คู่มือความรู้ต่างๆ

3.เตรียมอุปกรณ์เวชภัณฑ์ทางการแพทย์

4.หนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางต่างๆ เช่นหอกระจายข่าว / ที่ประชุมหมู่บ้าน / ฯลฯ

5.ออกปฏิบัติงานคัดกรองสุขภาพเชิงรุกในชุมชน ร่วมกับ อสม.

6.ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเป้าหมาย

7.ตรวจคัดกรอง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวนค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว ความดันโลหิต และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

8.แบ่งกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

9.ให้คำแนะนำผู้ที่มีความเสี่ยง นัดติดตามอาการเพื่อดูแลและส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพร้อมทั้งรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง

2.จำแนกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองตามแนวทาง การประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

3.ประชาชนเห็นความสำคัญของการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและสามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้เคียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4.ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561 00:00 น.